Subscribe:

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การปรับคอมเพอร์เซอร์

COMPRESSOR/LIMITER

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมระดับความดังของเสียง ไม่ให้สัญญาณเสียงที่ออกไปมีความแรงมากเกินไป รวมทั้งทำหน้าที่อื่นๆด้วย ซึ่งหน้าที่การทำงานภายในเครื่องจะประกอบด้วยหน้าที่การทำงานหลัก 3 ส่วน ดังนี้

1. EXPANDER/GATE

ทำหน้าที่ขยายและเปิดประตู (GATE) ให้สัญญาณเข้ามาในเครื่องตามความต้องการของผู้ใช้ ว่าจะให้สัญญาณที่มีระดับความแรงมากน้อยเท่าไรที่จะให้เครื่องเริ่มทำงาน โดยมีปุ่มปรับต่างๆในส่วนนี้คือ

1.1 ปุ่ม THRESHOLD เป็นปุ่มปรับเพื่อให้เครื่องเริ่มทำงานและหยุดทำงาน หน่วยที่ปรับมีค่าเป็น dB เช่นเราปรับตั้งค่าไว้ที่ -45 dB หมายความว่า สัญญาณเสียงที่มีระดับสัญญาณต่ำกว่า -45dB เครื่องจะไม่ทำงาน ซึ่งจะทำให้ไม่มีสัญญาณใดๆผ่านเครื่องออกไปได้ และเครื่องจะเริ่มทำงานเมื่อระดับสัญญาณมีค่าสูงกว่า -45 dB ค่าที่เราตั้งเพื่อให้เครื่องเริ่มทำงานนี้เรียกว่า "ค่าเทรชโฮลด์"

อย่างไรก็ตามถ้าเราปรับไว้ที่ตำแหน่งต่ำสุดหรือ OFF หมายความว่า สัญญาณที่มีระดับสุดแค่ไหนก็ตามก็สามารถผ่านเข้าไปในเครื่องได้ นั่นคือสัญญาณจะผ่านเข้าไปได้ทั้งหมดตลอดเวลานั่นเอง

การจะตั้งค่าเทรชโฮลด์เป็นเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้เครื่องนี้ควบคุมเสียงอะไร เช่น ถ้าต้องการควบคุมเสียงสำหรับไมค์นักร้อง หรือควบคุมเสียงทั้งระบบ ให้ตั้งค่านี้ที่จุดต่ำกว่า -45 dB เพราะต้องให้ระดับเสียงเบาๆออกไปได้ แต่ถ้าควบคุมเสียงของไมค์กลองกระเดื่อง กลองสแนร์ หรือไฮแฮต ก็ให้ตั้งค่าที่สูงกว่า -45 dB ซึ่งมีค่าไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความดังของกลองหรือเครื่องดนตรีชิ้นนั้นๆ

1.2 ปุ่ม RELEASE เป็นปุ่มสำหรับหน่วงเวลา คือหลังจากที่ประตู GATE เปิดให้สัญญาณเข้ามาในเครื่องแล้ว ถ้าไม่มีสัญญาณใดๆเข้ามาอีกหรือสัญญาณมีค่าต่ำกว่าค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้ เกทก็จะปิด ส่วนอื่นๆของเครื่องก็ไม่ทำงาน ระยะเวลาที่ใช้ในการปิดเกทอีกครั้งหลังจากไม่มีสัญญาณเข้ามาแล้วนั้นเราเรียกระยะเวลานี้ว่า "Release Time" ปุ่มที่ทำหน้าที่ปรับระยะเวลานี้คือปุ่ม RELEASE ค่าที่บอกไว้ที่เครื่องคือ Fast หมายความว่าเกทจะปิดอย่างรวดเร็วหลังจากหมดสัญญาณ และ Slow หมายความว่า เกทจะหน่วงเวลาไว้ระยะหนึ่งจึงค่อยปิด ระยะเวลาเร็วหรือช้าแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับเราที่จะปรับตั้งค่าไว้

ค่า Release Time ของเกทนี้จะตั้งเป็นเท่าไรก็ขึ้นอยู่กับเสียงที่เราใช้งาน เช่นไมค์สำหรับเสียงพูดหรือเสียงนักร้อง ให้ปรับไว้ที่ประมาณบ่ายสองโมง [Slow] เพราะเสียงคนเราจะมีปลายหางเสียงเช่น เสียงตัว สิ. ,สี่.. ,ซิ... ,ซี...เอส....เฮช....ทู...ฯลฯ.. เป็นต้น ปลายหางเสียงเหล่านี้จะได้ไม่ขาดหายไป

ส่วนการปรับเสียงจากเครื่องดนตรีเช่นเสียงกลองกระเดื่อง ถ้าเราไม่ต้องการเสียงกระพือหลังจากที่เราที่เหยียบลงไปที่หน้ากลองลูกแรก ก็ให้เวลาในการปิดเกทเร็วขึ้น Fast  หรือเสียงไฮแฮตถ้าเราไม่ต้องการให้มีปลายหางเสียงมากเกินไป ให้เสียงซิบๆๆ..ซี่ๆๆ..ซิบๆๆ...ดีขึ้นก็ให้ปิดเกทให้เร็วขึ้นเพื่อปลายหางเสียงที่เบาๆจะได้ถูกตัดออกไป

**อย่างไรก็ตามปุ่มRELEASE ในส่วนของภาคEXPANDER/GATE นี้ ในเครื่องบางรุ่นอาจจะไม่มี และบางรุ่นทำเป็นสวิทช์กดให้เลือก**

1.3 ปุ่ม RATIO เป็นปุ่มทำหน้าที่ปรับลดระดับเสียงลงเป็นอัตราส่วนของ dB เมื่อเทียบค่ากับ 1 เช่น 1:1หมายความว่าสัญญาณจะไม่ถูกลดระดับเลย , 2:1หมายความว่าสัญญาณที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าไหร่ก็ตามจะถูกทำให้ลดลงสองเท่า

**อย่างไรก็ตามปุ่ม RATIO นี้ในส่วนของภาคEXPANDER/GATE ในเครื่องบางรุ่นอาจจะไม่มี**

2. COMPRESSOR

ทำหน้าที่กดระดับสัญญาณให้ลดลงในอัตราส่วนตามค่าที่เราได้ปรับตั้งไว้ หน้าที่การทำงานของปุ่มปรับต่างๆในส่วนของภาคคอมเพรสเซอร์นี้มีดังนี้

2.1 ปุ่ม THRESHOLD เป็นปุ่มสำหรับตั้งค่าจุดเริ่มการกดสัญญาณ(จุดเทรชโฮลด์) เช่นเราตั้งค่าไว้ที่ 0 dB สัญญาณจะเริ่มลดลงที่ 0 dB และถ้าปรับตั้งไว้ที่ -10 dB ก็หมายความว่าสัญญาณเสียงจะเริ่มลดลงที่จุด -10 dB (ค่าติดลบมากเสียงจะลดลงมาก)

การลดลงของสัญญาณเสียงที่จุดเทรชโฮลด์นี้ ถ้าเป็นการลดลงอย่างรวดเร็วทันทีทันใด เราเรียกว่า ฮาร์ดนี (Hard-Knee) และถ้าให้เสียงที่ถูกกด(Compress) ค่อยๆลดลงเพื่อให้เสียงฟังดูนุ่มขึ้นเราเรียกว่า ซอฟต์นี(Soft-Knee) ซึ่งมีปุ่มให้กดเลือกใช้งานได้ แต่ปุ่มนี้จะมีชื่อเรียกทางการค้าที่แตกต่างกันไป เช่น

ยี่ห้อ dbx เรียกปุ่มนี้ว่า Over Easy

ยี่ห้อ Behringer เรียกปุ่มนี้ว่า Interactive Knee

การตั้งค่า THRESHOLD

เสียงดนตรี เสียงพูด และเสียงร้องเพลงทั่วๆไป จะตั้งค่าไว้ที่ 0 dB

เสียงร้องเพลงประเภท เฮฟวี่ ร็อค ฮิปพอฟ หรือเพลงวัยรุ่นประเภท แหกปากตะโกนร้อง ก็ตั้งไว้ที่ -10 dB ถึง -20 dB ให้ปรับหมุนฟังดูค่าที่เหมาะสมไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป

2.2 RATIO เป็นปุ่มสำหรับทำหน้าที่ปรับลดระดับเสียงลงมีค่าเป็นอัตราส่วนจำนวนเท่าต่อ 1 ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กับค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้คือ

(1) เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 1:1 สัญญาณด้านออกจะไม่ถูกกดลงเลย

(2) เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 2:1 สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลง 2เท่า เมื่อสัญญาณเข้าเพิ่มขึ้น 1dB เช่นสัญญาณเข้า +20dB สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลงเหลือ +10dB

(3) เมื่อตั้งค่าอัตราส่วนไว้ที่ 4:1 สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลง 4เท่า เมื่อสัญญาณเข้าเพิ่มขึ้น 1dB เช่นสัญญาณเข้า +20dB สัญญาณออกจะถูกกดให้ลดลงเหลือ +5dB

(4) Infinite (หมุนตามเข็มนาฬิกาสุด) สัญญาณด้านออกจะถูกกดให้ลดลงเท่ากับค่าเทรชโฮลด์ที่ตั้งไว้

การตั้งค่า RATIO

เสียงพูด เสียงร้องเพลงทุกแบบ เสียงเครื่องดนตรีทั่วไป ปรับตั้งไว้ที่ 2:1 ถ้าตั้งให้ลดมากไปจะทำให้เหมือนเสียงเกิดอาการวูบวาบกระโดดไม่คงที่

2.3 ATTACT เป็นปุ่มสำหรับปรับตั้งค่าหน่วงเวลาของการเริ่มต้นกดสัญญาณ(compress) จะช่วยทำให้เสียงมีความหนักแน่นดีขึ้น มีหน่วยเวลาเป็น มิลลิวินาที(mSEC) เสียงพูด เสียงเพลงดนตรีทั่วไป ให้ตั้งค่าไว้ที่ประมาณ 40-50 mSEC เพลงคลาสสิค หรือเพลงที่มีความฉับไวของดนตรี ให้ตั้งไว้ที่ประมาณ 25-30 mSEC

2.4 RELEASE เป็นปุ่มสำหรับปรับตั้งค่าหน่วงเวลาช่วงหยุดการกดสัญญาณ จะทำให้น้ำเสียงนุ่มน่าฟังขึ้น มีหน่วยเวลาเป็นวินาที (SEC) เสียงพูด เสียงดนตรีทั่วไปให้ตั้งไว้ที่ 1.5-2 SEC

2.5 OUTPUT GAIN เป็นปุ่มปรับลดหรือเพิ่มระดับความแรงของสัญญาณด้านขาออกของเครื่องให้มีค่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นได้ โดยมีค่าปรับได้ตั้งแต่ -20dB ถึง +20dB ในการใช้งานปกติให้ปรับค่าไว้ที่ 0 dB

3. LIMITER

ลิมิตเตอร์ทำหน้าที่รักษาระดับสัญญาณด้านขาออกของเครื่องให้มีความแรงสูงสุดได้ไม่เกินค่าที่ตั้งไว้ เช่นตั้งไว้ที่ 0dB สัญญาณขาออกก็จะออกได้สูงสุดไม่เกิน 0dB หรือตั้งไว้ที่ +5dB สัญญาณขาออกก็จะออกได้สูงสุดไม่เกิน +5dB เป็นต้น

การตั้งค่าLIMITER

เสียงพูด เสียงร้องเพลงทุกประเภท ให้ตั้งค่าไว้ที่ 0dB

เสียงดนตรี กลองกระเดื่อง กีต้าร์เบส ให้ตั้งค่าไว้ที่ +5dB ถึง +10dB

เสียงเครื่องดนตรีอื่นๆ ตั้งค่าไว้ที่ 0dB

การต่อใช้งานเครื่อง COMPRESSOR

การต่อใช้งานเครื่องคอมเพรสเซอร์สามารถต่อใช้งาน ตามลักษณะประเภทของงานและตามความต้องการของผู้ใช้ได้ 4 แบบ ดังนี้

1. การต่อแบบ Channel Insert

การต่อแบบนี้เป็นการต่อใช้งานที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เราสามารถปรับแต่งเสียงของคอมเพรสเซอร์ แต่ละแชลแนลได้อย่างอิสระ ทั้งเสียงจากไมโครโฟนสำหรับนักร้อง และเสียงจากเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นที่แยกจากกัน

2. การต่อแบบ Group Insert

การต่อแบบนี้จะใช้คอมเพรสเซอร์ จำนวน 2 เครื่อง [4Ch] ในกรณีที่มิกเซอร์มี 4 กรุ๊ป คือ Group 1-2-3-4 ก็ให้เราจัดกรุ๊ป 1-2 เป็น ไมค์เสียงร้องทั้งหมด และกรุ๊ป 3-4 เป็นเสียงดนตรีทั้งหมด

3. การต่อแบบ Mix Insert

การต่อแบบนี้ใช้คอมเพรสเซอร์ 1เครื่อง (2Ch) ต่อที่ตำแหน่ง Mix Insert ของเครื่องมิกเซอร์ เป็นการต่อใช้งานเพื่อควบคุมเสียงทั้งหมดที่ถูกต่อเข้าที่มิกซ์ การปรับแต่งเสียงก็จะปรับโดยรวมๆกลางๆ

4. การต่อแบบ MIXER to COMPRESSOR

การต่อแบบนี้เป็นการต่อแบบที่ง่าย สะดวก และประหยัดที่สุด เพราะเป็นการต่อที่นำเอาสัญญาณเอาท์พุทจากมิกเซอร์มาเข้าอินพุทของเครื่องคอมเพรสเซอร์ และออกจากคอมเพรสเซอร์ไปเข้าเครื่องอีควอไลเซอร์

การปรับแต่งเสียงก็เป็นการปรับแบบรวมๆกลางๆ เพราะทุกเสียงผ่านคอมเพรสเซอร์ทั้งหมด


เล่าเรื่อง compressor
...........พูดเปรียบเทียบกันง่าย ๆ compressor เป็นอุปกรณ์ที่ทำก๋วยจั๊บน้ำใส.....ให้เป็นก๋วยจั๊บน้ำข้น......(ฮาครับ....มีคนเปรียบเทียบอย่างนี้จริง ๆ )
.......จำเป็นต้องมีไหม...หลายคนสอบถาม.....จำเป็นครับ....ไม่งั้นเขาคงไม่ทำขายหรอก...(โอ...ช่างเป็นคำตอบที่มักง่าย..จริง ๆ )
........แต่ถ้ามีแล้ว...ใช้ไม่ถูก..ก็อย่ามีดีกว่าครับ.....บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้เรื่อง compressor เบื้องต้น...แก่ผู้ที่ยังไม่รู้บางแง่...บางมุมของ compressor
....ส่วนท่านที่รู้แจ้งเห็นจริงแล้ว...ก็ผ่าน....หรือจะแบ่งปันในส่วนลึก ๆ ของcompressor บ้างก็ได้ครับ
........ในส่วนแรก..ที่ปุ่มปรับที่เขียนว่า ratio (ในวงเหลืองรูปล่าง) หมายถึงการกำหนดอัตราส่วนในการ compress (บีบอัดสัญญาณเสียง)
.....ส่วนรูปบน.....เป็นการแสดงภาพการบีบอัด...รูปซ้ายมือสุด...เป็นการบีบอัดในอัตราส่วน 1.5 ต่อ 1 ...สังเกตสัญญาณที่เกินกว่าเกณฑ์(เส้นสีดำ)...จะถูกกดลงมานิดหนึ่ง(ในวงสีแดง)
.....ในรูปกลาง...เป็นการบีบอัดในอัตราส่วน 3 ต่อ 1 ...สังเกตสัญญาณที่เกินกว่าเกณฑ์(เส้นสีดำ)...จะถูกกดลงมา..มากหน่อย(ในวงสีชมพู)
.....ในรูปขวามือ...เป็นการบีบอัดในอัตราส่วน ต่อ 1(infinity) ...สังเกตสัญญาณที่เกินกว่าเกณฑ์(เส้นสีดำ)...จะถูกกดลงมา..มากที่สุด(ในวงสีน้ำเงิน)
……..นี่เป็นเบื้องต้น....ที่นำเสนอท่าน.....ในการใช้ compressor ของท่านให้เกิดประโยชน์สูงสุดครับ
......เวลาหมดครับ.....พบกับคราวหน้า.....ขอให้มีงานท่วมเดือนทุกวงครับ...สาธุ



…..threshold (วงสีชมพู)เป็นการปรับค่าอ้างอิงเพื่อให้เครื่องทำงานตามค่าอ้างอิงตัวนี้
.....จากรูปครับ....ปุ่มปรับ threshold ถ้าเราปรับค่านี่ให้สูง(ค่อนมาทาง+10...ถึง+20)จะเป็นการกำหนดให้เครื่อง ตั้งค่าเกณฑ์(เหมือนตั้งกำแพง)ไว้สูง...สังเกตเส้นที่ลูกศรสีเขียวชี้ครับ.....เส้นนี้จะเป็นค่าที่ไว้เปรียบเทียบกับสัญญาณเสียง(สัญญาณไฟฟ้า)ที่เข้ามาว่าเกินเกณฑ์นี้ไหม......ถ้าเกินเส้นนี้ กระบวนการ compressor จะทำงานครับ......จะกด...จะดันมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับค่า ratio ที่เราตั้งไว้(ในวามเห็นที่แล้ว)......แต่สรุปแล้วเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการสัญญาณไฟฟ้า(ส่วนที่เกินเกณฑ์)ที่ออกมาก็จะไม่ต่ำกว่าเส้น threshold ครับ
..........ส่วนกรณีที่เราตั้งค่า threshold ไว้ต่ำ ๆ (ค่อนมาทาง -10...-20...-40...)เกณฑ์(กำแพง)ก็เตี้ยลงมา(รูปด้านขวามือครับ)..........ศรชี้สีฟ้านั่นแหละครับ
......เมื่อเกณฑ์ในการอ้างอิงเตี้ย......สัญญาณเสียงที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าค่าน้อย ๆ (เบา ๆ)ก็ต้องถูกเข้ากระบวนการ compress ด้วย.....มากน้อยแล้วแต่ค่า ratio ที่เราตั้งไว้เช่นกัน
...........แล้วจะตั้งค่าไหนดีล่ะ..............อันนี้ต้องขึ้นอยู่กับเครื่องมือของคุณ.......set threshold ต่ำไปเสียงออกมาก็เบา........สูงไปก็...ดังเกิน...ลำโพงขาด....แอมป์ไหม้.......เสียงแตก....เสียงบี้...พร่า........
........เอางี้.....เริ่มจากค่าต่ำ ๆ ก่อน.....แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนไม่เกิดอาการที่เขียนมาบรรทัดที่แล้ว....สำหรับค่า ratio ก็ลองตระโกนดัง ๆ ใส่ mic ...หรืออัดเครื่องดนตรีแรง ๆ ให้มันทำการลดสัญญาณ.....แล้วสังเกตผลรวมที่ mixer ว่ามัน peak หรือไม่.....ปรับแต่งที่ละนิด เดี๋ยวก็ได้ค่าที่เหมาะสมกับเครื่องของเราเองหละครับ...ขอย้ำนะครับว่า....เป็นค่าที่เหมาะสมกับเครื่องของเรา....จบครับ
......คราวหน้าก็ถึงเรื่องปุ่มปรับ ATTACK(วงสีแดง) และ RELEASE(วงสีน้ำเงิน)…ครับ...รอนิดนึง



compressor ภาค 2
........คราวที่แล้วผมเขียนเรื่องการปรับปุ่ม ratio ของ compressor ตั้งแต่ความเห็นที่ 1 โน่น(อื้อฮือ...นานจนลืมไปแล้ว)...ว่าการปรับค่าratio มีผลอย่างไรต่อการทำงาน
.......วันนี้ผมนำรูปคลื่นเสียงจริง ๆ ที่ยังไม่ถูกบีบอัดโดยกระบวนการ compressor หรือ limiter ให้คลื่นเสียงที่เกินกว่าเกณฑ์ที่เราตั้งไว้..(รูปบน...ในวงสีเขียวทั้งบนและล่าง....คลื่นเสียงจะมีทั้งบนและล่าง....เรียกว่าคลื่น + และคลื่น -)....จะเห็นว่ามีส่วนที่เกินกว่าเกณฑ์ที่เรากำหนดไว้(สมมุติว่าเราตั้งเกณฑ์ที่...ไม่ให้เกิน 50)
......รูปล่างครับ....เมื่อคลื่นเสียงชุดนี้ผ่านกระบวนการแล้ว....จะเห็นว่าในส่วนที่เคยเกินเกณฑ์ 50จะถูกบีบอัด...ลดทอนจนไม่เกินเกณฑ์ที่เราตั้งไว้.......
......ประโยชน์ที่ได้ก็คือเสียงที่จะออกไปที่ลำโพงจะไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้.....ทำให้เสียงที่ออกมาไม่แตกพร่า....หรือลำโพงขาด....แอมป์ไหม้
....และถ้าเป็นวงจรที่ถูกออกแบบมาดี ๆ หน่อยเสียงที่ผ่านกระบวนการนี้จะเป็นเสียงที่ดีขึ้น...หนักแน่นขึ้น..นิดหน่อย...ขอย้ำว่านิดหน่อยนะครับ.............หรือที่ภาษานักดนตรีเรียกว่า...เสียงมันเหนียวขึ้น



..........มาว่ากันถึงเรื่องปุ่มปรับ attack ที่ compressor
......จากรูปด้านบนเป็นปุ่มปรับค่า compressor ของ behringer ปุ่มปรับที่ชื่อว่า ATTACK ..(วงสีแดงลูกศรแดง)..เป็นการปรับแต่งให้กระบวนการบีบอัดทำงานในทันทีทันใดที่...มีการตรวจพบเสียงที่เกินกว่าเกณฑ์......หรือจะให้เครื่องยังไม่ทำงานในทันที..(หน่วงเวลาการทำงานออกไปอีก)การหน่วงเวลาที่ให้มาหน่วงเวลาได้ถึง..300 msec..ในรุ่นนี้
......สรุปว่าปุ่ม attack มีไว้เพื่อกำหนดให้กระบวนการบีบอัดสัญญาณ...ทำงานในทันที....หรือไม่ทำงานในทันที...โดยยืดเวลาออกไป....และยืดการทำงานออกไป..เท่าไร
.......จากรูปล่าง....ถ้าเราปรับ attack ค่าต่ำ ๆ (ทำงานเร็ว ๆ ที่ตรวจพบ).... ส่วนเกินของเสียงในพื้นที่วงแดงจะถูกบีบอัด
..........ถ้าค่า attack ค่ากลาง ๆ ....ส่วนเกินของเสียงในพื้นที่วงสีน้ำเงิน..จะถูกบีบอัด
..........ถ้าค่า attack ตั้งค่าไว้สูง ๆ (หน่วงเวลามาก ๆ )....ส่วนเกินของเสียงในพื้นที่วงสีเหลืองจะถูกบีบอัด
……การบีบอัดและการลดทอนจะรายงานให้ทราบโดยแสดงออกมาเป็นแถบไฟในกรอบเหลี่ยมสีชมพู...รูปบน
......ลอง ๆ ทำความเข้าใจดูนะครับ.....จบเรื่อง attack
.....ขึ้นเรื่อง release
.....release เป็นปุ่มปรับเพื่อให้กระบวนการบีบอัดหยุดทันทีที่หมดเสียงที่เกินเกณฑ์......หรือจะให้เครื่องหน่วงเวลาการบีบอัดออกไปอีก......สังเกตได้ง่าย ๆ จากแถบไฟในกรอบเหลี่ยมสีชมพู(GAIN REDUCTION)......ถ้าเราปรับ release ไว้ที่ค่าต่ำ ๆ จะหมายถึง...เมื่อบีบอัดแล้ว...หยุดการบีบอัดทันที่....สังเกตแถบไฟจะแสดง...และจะหดหายไปในทันที
......ถ้าเราปรับค่า release ไว้สูง ๆ .....สังเกตแถบไฟที่ขึ้นมาตอนเกิดการบีบอัด ...จะไม่ลดลงในทันที.......แต่จะค่อย ๆ ลดลงช้า ๆ (ช้ามาก...ช้าน้อย...ขึ้นอยู่กับค่า release)...
........แล้วจะปรับอย่างไรล่ะ....ให้เหมาะสม.....อันนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้นบนเวที..ขณะนั้น......เสียงนักร้องที่กระแทกกระทั้น....ความเร็วของเพลง....ชนิดของเครื่องดนตรีที่จะทำการ compress .......ความไวของไมโครโฟน........และอื่นๆ...เป็นองค์ประกอบ
.....คงต้องแนะนำว่าต้องพึ่งตัวเองแล้วละครับ...ในการปรับแต่ง.....แต่งให้เหมาะสมกับเครื่องบนเวทีของคุณนั่นแหละเป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด...โดยอาศัยหลักการทำงานที่ผมเขียน...มาเป็นหลักเกณฑ์ในการปรับแต่ง
..........ลองดูนะครับ

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการ mix กลอง + เบส




เทคนิคการ mix กลอง + เบส โดย Asuza
ไม่สามารถระบุ วันเวลาที่ท่านอาโพสต์ ได้ครับ..



Azusa Wrote:
นี่ผมสงสัยว่าคุณคงจบมาจากพวกโรงเรียนสอน mix ว่าต้อง ทำ bass & drum ก่อนแน่

ก่อนอื่นอย่าถือว่าเป็นศูตรนะครับ เดี่ยวเสียงออกมาเหมือนกันหมด

เมื่อจะเข้า mix แล้วคงไม่ต้องพูดถึงวิธีอัดนะ เพราะกลองนี่ต้อง tune ก่อนอัด
หากไม่ได้ tune ก่อนเอามาทำทีหลังเสียงอาจดีหรือไม่ดีไม่รับประกัน

เริ่มด้วยตั้ง level ก่อน ทุกอันไม่ควรตั้งเกิน 0 dB หากเสียงอันใหนต้องตั้งให้เกินนั้น ควรจะลดอันอื่นลง
พวกเสียงกลองนี่ทั้งหมดจะหมายถึง peak เพราะเสียงมันสั้นมาก จะดูจาก RMS ไม่ทัน
bass drum = 0 dB , pan เที่ยงตรง
snare = -2 dB pan ส่วนมากจะเหลื่อมจากตรงกลางมานิด เพื่อจะหลบเสียงร้อง
hi hat = - 20 ถึง-25 dB ตามแต่ชอบ , pan 10 โมง หรือ บ่าย 2 เลือกเอาว่าจะให้มือกลองถนัดซ้ายหรือขว
crash = -25 dB เมื่อก่อนนิยม pan ซ้ายขวาสุด แต่เดี๋ยวนี้ อยู่ไกล้ hi hat
tom = -6 จนถึง -3 อันนี้ส่วนมากยังชอบ pan กันแบบสุด ซ้ายไปขวา หรือ กลับกัน
พวก percussion อันอื่น -20 ถึง -25 ส่วนมากจะ pan ออกไปข้างๆเพื่อหลบเสียงอื่น
Bass = -10 dB

นี่คือ level ที่ตั้งเริ่มต้นนะครับ จากนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลง นิดหน่อย หลังจากเอาเสียงอื่นเข้ามา
จบท่อน 1

------------------------------

ภาค2 :
ตอนนี้มาถึงเริ่มยากขึ้น หลังจากตั้ง level ได้ที่แล้ว ต้องฟังก่อน ว่าจะใส่อะไรเข้าไป
อย่าเพิ่งใส่อะไรเข้าไปจนกว่าจะจำเป็น

เราจะรู้ได้ยังไงว่าจำเป็น?
หากไม่แน่ใจ ต้องหาเพลงที่เขาทำไว้แล้วฟังเทียบดู ส่วนมากจะเป็น compressor หรือ EQ

ใส่อะไรก่อน?
จะไปรู้เรอะ ตัวใครตัวมัน
หากเป็นผมคงใส่ compressor ก่อน เหตุผลคือหากเราใส่ EQ ไปก่อน เราจะไปเพิ่ม level ของเสียงอันนั้น
และนิสัยของทุกคนคือหากขาดอะไร จะเพิ่มอันนั้น แต่มันกลับกันกับเรื่องเสียง (อันนี้เอาไว้ก่อน อธิบายทีหลัง)

หากเราไปเพิ่ม level ของเสียงอันนั้น compressor จะเข้ามาทำงาน เพราะหน้าที่ของมันคือลดเสียงอันนั้น
เช่นหากเราไปเพิ่ม EQ สำหรับ bass ที่ 100 Hz ไอ้ตัว compressor นี่มันจะเริ่มทำงานทุกครั้งที่ threshold เกินขึ้น
ในเมื่อ level ตรง 100 Hz เพิ่มขึ้น compressor จะไปลด freq. ส่วนอื่นไปด้วย เสียงก็เลยยิ่งแย่ไปการใหญ่

หากจะใส่ EQ ตอนนี้ควรจะเป็น high pass ตรง 50 Hz (freq. ที่ต่ำกว่านี้หากไม่มี monitor ใหญ่ๆ แบบห้องอัดเสียงเราจะ
ไม่ได้ยินชัดหรือไม่ได้ยินเลย)

แล้วอย่างงี้ใส่ multiband compressor หลังจาก EQ ก็ไม่เป็นไรแล้วสิ
อืมน่าคิดนะ ดูจากรูปข้างล่างนี้แล้วคงจะเข้าใจ ต่อภาค 3

-----------------------------------

ภาค 3:

ขอโทษทีไปอ่านตรงหัวข้อถามเรื่อง mix แบบคร่าวๆ เลยฝอยเพลิน
นี่แสดงว่าอยากได้ตัวเลข เอาเลยครับ "Mix by numbers"

ปกติแล้ว bass ต้องใช้ compressor เข้าไปคุมให้อยู่กับที่ แต่ส่วนมากคนที่นี่จะใช้ sample กัน
พวก sample ก่อนออกมาขายจะ compress และ EQ มาเรียบร้อย ที่เหลือสำหรับเราจะทำคือ ทำให้เสียงมันออกไกล้ analog มากที่สุด อาจ
เติมพวก tube stimulator หรือ distortion เข้าไป
หากต้องการให้เสียงแน่นขึ้นอีก ตั้ง ratio อย่าเกิน 3:1
แล้วตั้ง output gain ให้เท่ากับ gain reduction ที่ถูกลดลง แล้วลองฟังดูครับ

ตอนนี้ที่กำลังติดใจมากที่สุดคือ Camel Phat ซึ่งนอกจากจะใช้เป็น compressor แล้วยังมี distortion อยู่ในตัวเดียวกัน
พวก Heavy Metal ทั้งหลายแน่นอนว่าใส่ distortion ในเสียง bass

กลองก็เช่นกัน bass drum, snare, toms ... ใช้ compressor หมดยกเว้น crash กับ ride จะใช้ limiter แทน
เพราะหาก compress อันนี้แล้วเสียงมันจะออกไม่ธรรมชาติเลย
EQ..
Q-1 = 1 1/3 octave, Q-1.4 = 1 octave

• 50Hz Q=1.4
-เพิ่มให้เสียงมันเต็ม<->ลดหากมันมากเกินไป ใช้กับ bass drum, tom, bass

• 100Hz Q= 1-1.4
-เพิ่มหากต้องการเสียง bass แบบอัดๆ (อธิบายไม่ถูก)

• 200Hz Q = 1.4
-เพิ่มหากต้องการเสียง snare เต็มๆ ให้เสียงออกตั้กๆ
-ตัดออกตรงใช้กับ crash, ride เพื่อเอาเสียงก๊องๆออก (เสียงไม้ตีกระทบฉาบ)

• 400Hz Q = 1-1.4
-เพิ่มเมื่อต้องการให้ได้ยิน bass ชัดขึ้น
(เคยอ่านเจอจากมือ bass ที่มีชื่อเสียงมากคนนึง เขาบอกว่าต้องเป็น 368 Hz; ไม่รู้ว่าเขาเอาตัวเลขมายังไง เพราะ F#4 = 369.994
Hz. )
-ลดลงหากเสียง bass drum หรือ tom เสียงเหมือนตอนทุบกล่องกระดาษ
-ลดลงหากดเสียงฉาบทั้งหลายก้องเกินไป
*ระหว่าง 350-400 Hz นี่สำคัญมากสำหรับ bass และ bass drum หากต้วใหนเพิ่มอีกตัวควรลด*

• 800Hz Q = 1.4
-เพิ่มเมื่อต้องการให้เสียง bass มีลักษณะเพิ่มขึ้น

• 1.5KHz Q = 1.4
-เพิ่มหากต้องการเสียง pick หรือนิ้วกระทบสาย bass (คนที่ใช้ Triology มีอันนี้ด้วย)

• 2.5 - 3KHz Q = 1.4
-อันนี้เพิ่มเสียงกระเดื่องให้มันออกต๊อกๆ

• 3KHz
-หากยังกระทบของ bass ไม่พอเพิ่มอีก octave ตรงนี้ (1.5 x 2 ) Q =1.4
-เพิ่มเสียงกระแทกให้ snare Q =1.4 - 2.8.

• 5KHz Q = 1.4
-หากต้องการเสียงนิ้วกระทบสายมากขึ้นอีกเพิ่มอันนี้ แต่ส่วนมากจะใช้กับ acoustic bass ในเพลง jazz

• 7KHz Q = 1.4-2.8
-เมื่อไรก็ตามหากต้องการเสียงโลหะ กริ๊งๆ (ฉาบหรือส่วนอื่น) เยอะขึ้นหรือน้อยลงเพิ่มหรือลดอันนี้

• 10KHz Q = 1.4
-เพิ่มหรือลดเสียงแสบๆของฉาบ

• 15KHz Q = 1.4
-เพิ่มหรือลดเสียงแสบๆของฉาบ

เสียงอันใหนที่ตัด low freq. ได้ก็ใช้ High pass (Low cut) ตัดมันออกซะเพื่อที่เสียงรวมๆจะใสมากขึ้น เริ่มจากต่ำไปสูง
หากไม่แน่ใจว่าตรงใหนก็ใช้ sweep เอา

ว่าจะเขียนให้จบ หมดเวลาแล้วครับ ต่อตอนใหม่แล้วกัน
อย่าลืมนะว่าพวก sample ทั้งหลายก่อนจะออกมาขาย compress และ EQ มาเรียบร้อยแล้ว

------------------------

ภาค4 : FX ต่างๆ

ก่อนอื่นต้องบอกเช่นเคยว่า ฟังดูก่อนว่า ต้องใส่ไปหรือไม่ หรือต้องการใส่
ไม่ใช่ว่าสามารถใส่เข้าไปได้ก็ใส่มันทุกอัน
และไม่ขอกล่าวถึง hardware เพราะดูเหมือนว่าแถวนี้จะมี software กันมาก และมีเยอะกว่าผมอีก
Plug in มีหลายยี่ห้อที่ทำงานเหมือนกัน หากไม่ได้เอ่ยชื่อไม่ได้แสดงว่าไม่ดี เพียงแต่ว่าไม่มี และไม่เคยใช้

Reverb:
• ส่วนมากแล้วทุกอันจะใส่ reverb หมดยกเว้น bass และ bass drum (อันนี้อาจใส่เข้าบ้างแต่นิดเดียวจริงๆ หรือหากอยากใส่เข้าไปก็
เอาเลยครับ)

• ชนิดของ reverb ส่วนมากจะเป็นแค่ room หรือearly reflection ยกเว้น snare

• snare นี่ส่วนมากจะแยกออกมาต่างหากเลย อาจใช้ hall reverb + gate เพื่อให้เสียงใหญ่มโหราน (เมื่อก่อนทุกเพลงใช้ เดี่ยวนี้
น้อยลง)
บาง plug in อาจมี preset อันนี้ที่เรียกว่า reverb gate หรือ gate reverb ใช้กันมาก
-อันนี้ต้องยกให้ Phil Collin เขาเป็นคนคิดขึ้นมา ฟังจาก "In the Air" จะเห็นได้ชัดมาก
วิธีทำคือใช้ hall reverb แล้วเปิดให้เต็มที่ เลือกเอาที่มันมีหาง reverb (reverb tail, decay หรือชื่อคล้ายกัน)
หลังจากนั้นส่งเข้าไปที่ gate แล้วเลือกวิธีต่างๆตามแต่จะมี สั่งให้มันเปิดปิด ให้เข้ากับ tempo
วิธีเปิดปิดของ gate จะใช้ตั้ง level, time คือเมื่อเราตั้งไว้อย่างนี้ เสียงอันกังวาลจะถูกตัดทันที (ใน Reason ใช้ตั้ง CV ให้มาเป็นตัว
คุมได้สบายมาก)
ส่วนมากจะให้ gate ปิดตรงจังหวะถัดมา เพื่อจะได้ไม่ไปกลบเสียงอันอื่น
-แต่หากไม่ต้องการใช้ gate reverb ก็ใช้อันใหนก็ได้ที่ฟังแล้วมันเข้าบรรยากาศของเพลง

• ใน reverb จะเห็นมี diffuser ใส่มันเข้าไปอย่างน้อย 50% (ฟังเอาครับ) เหมาะกับเสียงกลองทั้งชุด เพราะทำให้เสียงกระจายเต็มห้อง

Reverb ของกลองส่วนมากจะสั้นๆ ยกเว้นบางครั้งที่ snare ที่กล่าวมา หากไม่รู้จะใช้อันใหนก็เลือกฟังจาก preset ครับ
เพราะเรื่อง reverb นี่ต้องอธิบายกันยาวเหยียดมาก หลายคำที่ยังไม่รู้ว่าจะแปลเป็นไทยยังไง
100% wet หมายถึงเสียง reverb อย่างเดียว ส่วนมากจะใช้แค่ไม่เกิน 25 %

Auto pan - เห็นหลายคนใช้กับ hihat ตั้งให้มันเลื่อนไปมาระหว่างซ้ายขวาอย่าให้เร็วนะ ให้เหมือนมันลอยไปช้าๆ หรือเปลี่ยน ตำแหน่งไปทุก
จังหวะ (เพลงของ madonna มีหลายอันที่ใช้อันนี้)

Phaser, chorus, flange- เห็นหลายคนใช้กับฉาบ โดยเฉพาะ phaser , chorus แตะเบาๆจะทำให้เสียงกว้างขึ้น, flange ใช้กับเสียง
hi hat
อีกอันคือ reverse crash อันนี้เอาเสียง reverb tail แล้วเอามากลับกัน ตั้งเสียงเริ่มก่อนจังหวะ ตรงท้ายลงจังหวะพอดี

Max bass, Renaissence bass- อันนี้ใช้สำหรับเพิ่ม harmonic ให้กับ bass ช่วยให้ได้ยินเสียง bass ชัดขึ้นเวลาฟังจากลำโพงเล็ก
(เวลาใช้ควรฟังรวมกับเสียงอื่น หากใช้ solo เวลาไปรวมกับอย่างอื่นแล้วมันจะกลบเสียงอื่น ระวังให้ดี)
บางครั้งใช้นิดๆช่วยเสียง bass ได้มาก

หากต้องการเสียง bass ทีลงไปต่ำลึกๆ มีพวก bass synthesizer ที่เป็น hardware หลายอัน พวกนี้จะเพิ่มตัวโน๊ตของ bass หรือ bass
drum ลงไปอีก octave
อัน VST แบบฟรีเห็นมีหลายอันที่เคยใช้คือ Empire ระวัง [woofer จะพัง

Renaissence Vox- อันนี้เขาทำมาใช้เป็น compressor สำหรับเสียงร้อง แต่ใช้กับ bass, bass drum, snare, hihat ได้ดีมาก
เพราะเสียงดี, ใช้ง่าย, และไม่ pump มาก (อันนี้ลืม -มันตกออกมาจากภาค 2 )

De-esser- ปกติอันนี้จะใช้คุมเสียง "S" "Z" "T" (เพลงไทยส่วนมากไม่ต้องใช้)
อันนี้เจอโดยบังเอิญ คือเคยมีปัญหาเรื่องพยายามคุมเสียง hi hat ไม่ให้เสียงไปทับ track อื่น และคุม freq. ด้วยไปในตัว
หาไปหามาก็ลองอันนี้เข้าเลยติดใจ จากนั้นก็ใช้มาเรื่อย ยิ่งหากว่าคุณสามารถใช้ automation control จาก sequencer ที่ใช้จะเยี่ยมมาก
เพราะสามารถเปลี่ยน parameter ได้ทั้งเพลง ทำให้เสียงเหมือนธรรมชาติมาก

Time delay ระหว่าง track - อันนี้ใช้กันมากครับ โดยเฉพาะทำให้เสียงมันเข้า groove กัน

หลังจากได้เสียงกลองมาทั้งหมด หากเสียงมันแน่นกันมากเกินไปก็ใช้พวก freq. spreader เช่น BBE (หลายคนไม่กล้าบอกว่าใช้ ไม่รู้ทำไม)

จบแล้วครับ เพราะตอนนี้นึกได้แค่นี้ หลายอย่างก็ยืมเขามา หลายอย่างก็จากที่เคยทำ
หากผิดตกตรงใหนก็ช่วยแก้ด้วย

อย่าลืมว่า หากเสียงมันดีอยู่แล้วอย่าไปแตะมัน เพลงสมัยก่อนไม่ได้ใช้อะไรมากเลย และหลังจากนั้นต้องเอาไปเทียบกับส่วนอื่นของเพลง แต่งให้เข้ากัน
อันใหนหลบกันได้ก็หลบ ข้อสำคัญคือพยายามทำให้เสียงออกมาชัด ถูกใจคุณ และอย่าลืมว่าเพลงทั่วไปเสียงร้องมาก่อน อย่างอื่นต้องหลบทางให้
--------------------------------------------
ลืมอีกอย่าง Pitch shift ครับ ใช้กับหลายกลองและ hi hat

BBE มันแยก freq. ของเสียงออกเป็นส่วนๆแล้วใส่ delay เข้าไปนิดๆ (เท่าไหร่ไม่รู้เหมือนกัน)
เริ่มจาก Low freq. -> High freq. คือเนื่?องจากเวลาฟังดนตรีจากสด เสียงต่ำมันจะมาหาคนฟังช้ากว่าเสียงสูง
มันเลยใช้อันนี้ขึ้นมาเลียนแบบธรรมชาติ ผลที่ออกมาคือฟังแล้วรู้สึกว่าเสียงมีลึกมีตื้น
บางครั้งที่เรา mix ไม่ดี ฟังดูแล้วเหมือนเสียงไปอยู่กระจุกเดียวกันหมด อุดอู้ มันขยายออกทำให้ฟังชัดขึ้น 

NI มี SPEKTRAL DELAY อันนี้ก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่เพิ่มขึ้นไปอีก
โดยเอา แถบของ freq. ที่มันตัดมาแต่ละท่อน จับมันมา delay แลัวเอากลับมาทำอย่างอื่น
เช่น feedback เข้ามาทำ vocoder, sync ให้เข้า tempo, flange .....ทำให้กลายเป็นอีกเสียงและอีกหลายอย่าง
น่าเสียดายที่ bug เยอะน่าดู ใช้กำลังสนุกๆ freeze หลายครั้งมากเลยต้องเลิก คงยังต้องรออีกสักพัก

ปัญหาคือเมื่อ มิกส์ งานออกมาแล้ว ซาวด์รวมไม่สว่าง
ไม่แจ่มใสชัดเจน

อันนี้ส่วนมากมาจาก freq. ของเครื่องแต่ละชิ้นมันทับกัน (masking), balance เสียง และ pan ครับ

เวลา mix ก็ใส่พวก low pass หรือ high pass filters เข้าไปในบาง track
เสียงอันใหนที่ไม่ต้องการก็ตัดมันออก เช่นพวก cymbal คงไม่ต้องการ low freq. มากนัก

หรือเพิ่ม+ตัด Eq ในเสียงที่ไกล้เคียงกัน เช่นระหว่าง bass-bass drum
อันใหนเพิ่มอีกอันควรตัด

อีกย่างก็ควรจัดการเรื่อง pan เพื่อให้เสียงมันทับกันน้อยลง
หาก pan มากไม่ได้ในกรณี bass-bass drum ก็ใช้ Eq แบบเพิ่มหรือตัด

แต่หากไม่อยากเริ่มไป mix ใหม่ตั้งแต่ต้น ลองใช้ BBE ดูสิครับ บางทีมันก็ช่วยได้
มัน delay พวก lower freq. ทำให้เสียงฟังแล้วชัดขึ้น


ขอบคุณบทความ http://www.guitarthai.com

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

มาตรฐานวีดีโอแบบ 4k คืออะไร

มาตรฐานวีดีโอแบบ 4k คืออะไร

Ultra Slow Motion 4K Videoมาตรฐานวีดีโอแบบ 4k คืออะไร 4k เป็นไฟล์วีดีโอที่มีความละเอียด หรือ resolution สูงกว่าแบบ  Full HD  1080p ที่เรารู้จักกันดี และสูงกว่าระบบ 2k ซึ่งมีความละเอียดที่ 1920 x 1080 ไฟล์ดิจิตอลแบบ 4k นั้นมีหลายความละเอียด ดูได้จากตารางข้อมูลจาก วิกิพีเดีย ให้สังเกตดูจำนวน Pixels ที่ท้ายตางราง แบบ Full Aperture ไฟล์ 4k มีความละเอียดต่อ 1 เฟรม ที่ประมาณ 12.7 ล้านพิกเซล ความละเอียดพอๆ กับภาพนิ่งที่ได้จากกล้องดิจิตอล ในปัจจุบันเลยทีเดียว ความละเอียดพิกเซล ขนาดนี้ทำให้เราสามารถจับภาพ หรือแคบเจอร์ภาพนิ่ง จากวีดีโอแบบ 4k มาพริ้น หรือนำมาอัดภาพ เป็นโพสเตอร์ขนาดใหญ่ๆ ได้หรือไม่ ผลที่ได้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ เพราะบิทเรท bitrate หรือจำนวนสีที่แสดงบนภาพ ยังไม่มากพอ ดูภาพขยายได้จากภาพที่ 1
4k
ตารางข้อมูล 4k จากวิกิพีเดีย
สำหรับมาตรฐาน 4k ที่นำมาใส่ในจอทีวีรุ่นใหม่ๆนั้น จะเป็นแบบ Quad Full High Definitionตัวย่อ QFHD  ความละเอียดที่ 3840×2160 มีขนาดเป็น 4 เท่า ของไฟล์แบบ  Full HD  1080p
QFHD
QFHD มาตรฐานไฟล์วีดีโอใหม่ ขนาด 3840 x 2160 pixels
การพัฒนาทางเทคโนโลยีไม่มีวันสิ้นสุด นอกจาก 4k แล้วยังมีแบบ 8k Ultra High Definition Television ตัวย่อ UHDTVความละเอียด 4320p ฮาร์ดดิสขนาดความจุ 1TB เล็กลงไปถนัดตา สำหรับกล้องดิจิตอลที่รองรับการถ่ายด้วยไฟล์ 4k คือ canon รุ่น c
http://www.photohang.com เนื้อหา

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ตารางระบบภาพ

ระบบภาพสัญญาณ ในปัจจุบัน ตามมาตราฐานทั่วโลก


วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มิกเซอร์เบื้องต้น





มิกเซอร์ จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณที่เข้ามาในแต่ล่ะปุ่มมิกเซอร์จะแยกหน้าที่การทำหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไปต่อไปนี้จะเป็นรายระเอียดของปุ่มต่างๆบนมิกเซอร์ 

อินพุตแจ็ค (input jacks) 
ทำหน้าที่รับสัญญาณจากไมโครโฟนหรือจากเครื่องดนตรีต่างๆที่เป็นไลน์ (line) ตำแหน่งมักอยู่บนสุดของมิกเซอร์ลักษณะของเต้ารับสัญญาณ (jack) จะมีอยู่สามแบบคือ (RCA) (-10dBv) และ (XLR) การใช้เต้ารับสัญญาณนั้นขึ้นอยู่กับราคาของเครื่องมิกเซอร์นั้นหากมีราคาแพงเต้ารับสัญญาณจะเป็นแบบ XLR ส่วนมิกเซอร์แบบกึ่งโปรจะใช้เต้าแบบ RCA และแบบ1/4นิ้ว

แฟนทอม (phantom) 
ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับไมโครโฟนที่เป็นแบบคอนเดนเซอร์ (condenser) ไฟที่ออกมาจะเป็นไฟ (DC)ซึ่งมีแรงดันระหว่าง 12-48 โวลต์ (volt)

เฟส (phase) 
ทำหน้าที่ปรับแก้ไขเฟสที่ไม่ถูกต้องที่อาจเกิดจากการต่อขั้วสายผิดพลาดหรือการวางไมค์ที่ก่อให้เกิดการกลับเฟส (มักเกิดจากการวางไมค์มากกว่าสองตัวขึ้นไป) ให้คืนอยู่ในสภาพปกติ สวิตซ์เฟสนี้จะพบในมิกเซอร์ราคาแพงเท่านั้น

แพด ( pad) 
จะพบสวิตช์นี้ในมิกเซอร์ที่มีราคาแพงเท่านั้น ทำหน้าที่ลดความแรงของสัญญาณที่เข้ามาลง –20dB และในมิกเซอร์บางยี่ห้อจะใช้คำว่า MIC ATT (microphone attenuation) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกัน
สวิตช์เลือกไมค์,ไลน์,เทปอินพุต (mic/line/tape input select)
ทำหน้าที่เป็นตัวเลือกแหล่งสัญญาณที่เข้ามาเพื่อให้ความเหมาะสมของสัญญาณก่อนที่จะป้อนเข้ามาให้เหมาะสมกับภาคปรีแอมป์ (pre-amp) มากที่สุด และเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการแตกพร่า (distrotion) ในขณะใช้งานเราสามารถปรับระดับสัญญาณได้ด้วยการดูที่มิเตอร์ (vu meter)

พีคมิเตอร์ (peak meter) 
ทำหน้าที่คอยระวังความแรงของสัญญาณที่เข้ามาในแชนเนลนั้นๆของมิกเซอร์ input เพื่อไม่ให้มีค่าที่เกินค่าที่กำหนดไว้โดยไฟจะสว่างขึ้น เมื่อไฟสว่างให้ปรับลดที่เกน (gain) หรืออีคิว
วิธีการดูสัญญาณที่ขึ้นพีคนั้นสามารถช่วยให้สามารถเร่งความแรงของสัญญาณที่เข้ามาได้เต็มที่ ในขณะที่เราวัดจาก vu meter และทำให้ทราบได้ว่ามีช่วง ไหนของสัญญาณทีมีความแรงที่สุด
โลว์พาสฟิลเตอร์ (lowpass-filter) 
ทำหน้าที่ตัดสัญญาณความถี่สูงระหว่าง 8-10kHz เพื่อไม่ให้ผ่านไปได้ แต่ยอมให้ความถี่ต่ำผ่านได้โดยสะดวก ซึ่งในเครื่องมิกเซอร์ราคาแพงๆสามารถตั้งค่าความถี่สูงที่ต้องการตัดไม่ให้ผ่านได้อีกด้วย

ไฮพาสฟิลเตอร์ (highpass-filter) 
ทำหน้าที่ตัดสัญญาณเฉพาะย่านความถี่ต่ำประมาณ 80-100 Hz ไม่ให้ผ่านไปได้แต่ยอมให้ความถี่สูงผ่านไปได้ ซึ่งในเครื่องมิกเซอร์ราคาแพงๆสามารถตั้งค่าความถี่สูงที่ต้องการให้ผ่านได้อีกด้วย


แชนเนลมิวต์ (channel mute) 
ทำหน้าที่ปิดเปิดสัญญาณที่เข้ามาในแต่ละแชนเนลของมิกเซอร์ ประโยชน์ของปุ่มนี้ช่วยให้กำหนดการปิดเปิดของสัญญาณที่ได้ยินแต่ล่ะช่องเป็นอิสระ

อินเสิร์ตแจ็ค (insert jack) 
ทำหน้าที่เหมือนสวิตซ์ร่วมที่เชื่อมอุปกรณ์จากภายนอกเพื่อให้เข้ามาผสมกับสัญญาณที่อยู่ในแต่ล่ะแชนเนลของมิกเซอร์ ทำให้แยกสัญญาณจากแชนเนลเพื่อส่งไปเข้าเครื่องมือช่วยปรุงแต่งเสียงต่างๆ (signal processor) เช่นคอมเพรสเซอร์ หรือ ดีเลย์ เป็นต้น ได้เป็นอิสระแต่ล่ะช่องเสียง (channel)

อีควอไลเซอร์ (equalizer) 
ทำหน้าที่ปรับความถี่ของสัญญาณที่เข้ามาเพื่อปรับแต่งหาความถูกต้องตามที่ต้องการเรานิยมเรียกย่อๆว่า (EQ) ลักษณะการทำงานของอีคิวจะมีตั้งแต่แบบง่ายๆสองย่านความถี่คือเสียงสูง (treble) และความถี่ต่ำ (bass) ไปจนถึงแบบละเอียดที่มีครบทุกความถี่ (สูงกลางต่ำ) ซึ่งจะเป็นอีคิวแบบที่เรียกว่า พาราเมตริก อีคิว (parametric eq)
อีคิวบายพาส (EQ bypass) 
ทำหน้าที่ปิดหรือเปิดในการใช้อีคิวหรือจะไม่ใช้ ทั้งนี้เพื่อการรับฟังเปรียบเทียบการใช้อีคิวและไม่ใช้ ว่าสัญญาณเสียงก่อนใช้อีคิวและหลังใช้จะเป็นอย่างไร

เฟดเดอร์ (fader) 
ทำหน้าที่ปรับเพิ่มระดับสัญญาณที่เข้าและออกไปจากมิกเซอร์ output เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียง บางครั้งเรานิยมเรียกทั่วไปว่าโวลุ่ม (volume)
สตูดิโอเลฟเวล (studio level) 
ทำหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงที่ออกมาจากมิกเซอร์เพื่อส่งเข้าไปยังห้องที่บันทึกเสียงเครื่องดนตรีก็คือห้อง studio นั่นเอง

คอนโทรลรูมเลฟเวล (control room level) 
ทำหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงที่ได้ยินทั้งหมดจากมิกเซอร์ที่อยู่ภายในห้องควบคุมเสียง (control room level

โซโล (solo) 
ทำหน้าที่ตัดสัญญาณแต่ล่ะช่องเสียงออกมาเพื่อการรับฟังโดยอิสระโดยเราจะได้ยินเฉพาะช่องเสียงที่เรากดปุ่มโซโลใช้งานอยู่เท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องปิดร่องเสียงอื่นๆ เช่น ในขณะที่กำลังฟังเสียงที่เข้ามาในมิกเซอร์สี่ช่องเสียงพร้อมๆกัน และเราต้องการฟังตรวจสอบเสียงจากช่องเสียงที่สองเพียงช่องเดียว เราก็กดปุ่มโซโลลงไปเราจะได้ยินเสียงจากช่องเสียงที่สองเท่านั้นซึ่งมันจะทำหน้าที่ตัดแยกเสียงในช่องเสียงอื่นๆให้เงียบโดยอัตโนมัติ

โซโลเลฟเวล (solo level) 
ทำหน้าที่ควบคุมสัญญาณของโซโลในช่องเสียงต่างๆบนมิกเซอร์ทั้งหมด ว่าให้อยู่ในระดับความดังเบาที่เท่าไรตามความต้องการของเอ็นจิเนียร์ เพื่อความสมดุลย์ของเสียงเมื่อกดออกเพื่อฟังรวมกับระดับปกติ

ออกซีไลอะรี่ (auxiliary) 
เรียกย่อๆว่าออกเซนด์ (aux send) ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายสัญญาณที่เข้ามาในแต่ล่ะช่องเสียงเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงต่างๆ หรือแหล่งรับสัญญาณอื่นๆตามที่เราต้องการ อ๊อกเซนด์ (aux send) จะมีมาสเตอร์อ๊อก (master aux) ซึ่งควบคุมความแรงของสัญญาณอ๊อกทั้งหมดในทุกช่องเสียงบนมิกเซอร์อีกต่อหนึ่ง

ปรี (pre) 
หมายถึงสัญญาณที่เข้ามาในแชนเนลเสียงมิกเซอร์ จะถูกดักออกมาก่อนที่จะผ่านเข้าสู่เฟดเดอร์หลักที่มิกเซอร์(เฟดเดอร์นี้มักจะอยู่ล่างสุดและมีลักษณะยาว) ซึ่งเมื่อดึงเฟดเดอร์หลักลงมาเพื่อลดสัญญาณเสียงลง สัญญาณเสียงก็จะไม่เบาตามไปด้วยแต่จะไปดังออกที่ภาคปรี (pre) ซึ่งอาจจะพ่วงต่อไปยังเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เช่น รีเวอร์บ เป็นต้น ดังนั้นเสียงที่ยังคงได้ยินก็จะเป็นเสียงที่มาจากรีเวอร์บนั่นเอง ผลคือสัญญาณที่เข้ามาจะเป็นอิสระไม่ขึ้นกับเฟดเดอร์หลักที่ทำให้สามารถนำสัญญาณนั้น ๆ ไปใช้เพื่อผลทางเสียงได้ตามแต่ต้องการหรือสร้างสีสรรทางเสียงและมิติได้อีกทางหนึ่ง

โพสต์ (post) 
หมายถึงสัญญาณที่เข้ามาแชนเนลเสียงของมิกเซอร์ จะมีผลดังเบาตามเฟดเดอร์หลัก
คือเมื่อเราลดเฟดเดอร์ลงสัญญาณที่เข้ามาก็จะลงตามไปด้วย แม้ว่าสัญญาณจะถูกแยกส่งออกไปยังเอฟเฟคอื่น ๆ ก็ตาม

แพน (pan) 
ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายตำแหน่งสัญญาณให้ไปทางซ้ายหรือขวาและทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายโอนสัญญาณลงร่องเสียง(track)เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องบันทึกเทปอีกด้วย


กรุ๊ปหรือบัส (group or bus) 
ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่เข้ามาจากหลายช่องเสียง(channel)เพื่อรวมสัญญาณให้ออกที่ output เดียว เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องบันทึกเทปหรือเครื่องขยายเสียงหรือช่องเสียงภายในมิกเซอร์เอง เช่น เราสามารถกรุ๊ปหรือบัสเสียงกลุ่มนักร้องประสานเสียงจากหลาย ๆ ช่องเสียงบนมิกเซอร์ ให้ออกเป็นช่องเสียงเดียวได้ด้วยการควบคุมเฟดเดอร์เพียงตัวเดียวเพื่อสะดวกต่อการควบคุมความดังเบาของสัญญาณทั้งหมด การส่งสัญญาณบัสหรือกรุ๊ปทำได้ด้วยการใช้แพน(pan) เป็นตัวจ่ายสัญญาณว่าไปทางไหนควบคู่ไปกับช่องเลือกสัญญาณ (track selected)

เลือกแทรคเสียง (track selected) 
ในมิกเซอร์ที่มีราคาแพงนั้นจะอยู่บนสุดเป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายสัญญาณว่าจะให้ออกไปสู่ช่องเสียงใดที่เครื่องบันทึกเทปแบบมัลติแทรคซึ่งอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า ไดเร็กต์แอสไซน์ (direct assign)

ไดเร็กต์เอาต์พุต (direct output) 
ทำหน้าที่ดักสัญญาณที่เข้ามาโดยไม่ผ่านปุ่มต่าง ๆ บนมิกเซอร์เพื่อให้สามารถนำสัญญาณสด ๆ นี้ไปพ่วงกับอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียง(effects)หรือเครื่องบันทึกเสียงได้โดยตรงตามแต่วัตถุประสงค์

เอฟเฟ็กต์เซนด์ (effect send) 
ทำหน้าที่จ่ายสัญญาณออกมาจากตัวมิกเซอร์ในแต่ละช่องเสียงไปสุ่เอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เช่น รีเวิร์บ (reverb) หรือดีเลย์ซึ่งมักใช้ปุ่ม aux เป็นตัวส่งสัญญาณ

เอฟเฟ็กต์รีเทอร์น (effect return) 
ทำหน้าที่รับสัญญาณที่ผ่านมาจากอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกป้อนมาจาก effect send อีกทีหนึ่งเพื่อการได้ยินเสียงที่ส่งออกมาจากเครื่องเอฟเฟ็กต์

สเตอริโอมาสเตอร์แฟดเดอร์ (stereo master fader) 
มีอยู่สองลักษณะคือแบบ สไลด์โวลุ่ม (slide volume) และแบบหมุน (rotarypot)
ทำหน้าที่เป็นตัวปรับความดังเบาของสัญญาณทั้งหมดบนมิกเซอร์ทั้งซ้ายและขวาก่อนที่จะออกไปสู่เครื่องมือต่างๆ

กรุ๊ปหรือบัสเอาต์พุตแฟดเดอร์ ( group or buss output faders ) 
บางที่เรียกว่ากรุ๊ปเฟดเดอร์ (supgroup faders) ควบคุมการส่งออกของสัญญาณที่มาจากกรุ๊ปหรือบัสอินพุตแฟดเดอร์ ( buss input fader) โดยจะแยกเป็นสเตอริโอซึ่งมีแพน (pan) ทำหน้าที่ควบคุมการส่งสัญญาณไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อผลของการมิกซ์เสียง (mixdown) หรือการจัดตำแหน่งสัญญาณ

สเตอริโอบัสอินพุต (stereo buss input) 
ทำหน้าที่รองรับสัญญาณจากแหล่งสัญญาณอื่นๆเพื่อให้สามารถนำสัญญาณมาใช้สัญญาณร่วมกัน เช่นกรณีที่ใช้มิกเซอร์สองตัวโดยตัวแรกใช้สำหรับรองรับสัญญาณจากเครื่องดนตรีและเสียงร้อง ส่วนตัวที่สองใช้สำหรับกล ุ่มคีย์บอร์ด แต่เราต้องการควบคุมสัญญาณทั้งหมดจากมิกเซอร์ตัวแรกเราสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณจากมิกเซอร์ในตัวที่สองจากภาคเอาต์พุตสเตอริโอ (output stereo) แล้วต่อเข้าที่ สเตอริโอบัส (stereo buss) ที่ว่านี้ในมิกเซอร์ตัวแรกซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมระดับความแรงเบาของสัญญาณจากมิกเซอร์ตัวที่สองได้ที่มิกเซอร์ในตัวแรกในภาคสเตอริโอบัสของมิกเซอร์ตัวแรก

อ๊อกซีไลอะรี่รีเซนด์มาสเตอร์ (auxiliary send masters)
ทำหน้าที่ควบคุมความดังเบาของสัญญาณทั้งหมดที่มาจาก aux จากแต่ล่ะช่องเสียงในมิกเซอร์ หากเราปิด aux send master ถึงแม้เราจะส่งสัญญาณจาก aux ในแต่ล่ะแชนเนลก็จะไม่มีเสียงดัง ในทางตรงกันข้ามหากเราเพิ่มระดับความแรงของ aux send master ความแรงของสัญญาณจาก aux ในแต่ล่ะช่องเสียงบนมิกเซอร์ก็จะดังทั้งหมด

เนื้อหาจากเว็บ http://www.winnerintegrator.com

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2556

MIDI คืออะไร





MIDI ย่อมาจาก Musical instruments digital interface ซึ่งแปลแบบง่ายๆก็คือ เสียงแบบดิจิตอลน่ะครับ มันต่างกะเสียงธรรมดาก็ตรงที่มันเป็นอะไรที่มนุษย์ฟังไม่รู้เรื่อง มีแต่คอมพิวเตอร์เท่านั้นที่ฟังได้ ซึ่งการที่จะทำให้มนุษย์ได้ยินเสียงที่เป็นไฟล์MIDI เนี่ย ข้อมูลนั้นจะต้องถูกแปลงสัญญาณเป็นออดิโอ แล้วไปออกทางลำโพงหรือหูฟังอีกที ซึ่งซาวด์การ์ดทั่วไปในปัจจุบันส่วนใหญ่ก็จะรองรับระบบMidiได้เกือบทุกตัว แล้วล่ะครับ ข้อดีของมันก็คือ เป็นอะไรที่เล็กมาก ขนาดจะเล็กกว่าไฟล์ออดิโอโดยเฉลี่ยถึงประมาณ 100 เท่า แต่ข้อเสียก็คือ มันฟังไม่เป็นธรรมชาติเลย แต่เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีมันก้าวไกลแล้วล่ะ มีการผลิตคิดค้นซอฟต์แวร์ซินธิไซเซอร์ต่างๆที่รองรับระบบ MIDI ช่วยให้ซาวด์ดีขึ้นมากๆ บางตัวนี่ถ้าไม่บอกก็ไม่รู้เลยว่าไม่ใช่คนเล่น เพราะมันเหมือนมากๆๆ นักดนตรีจะตกงานก็คราวนี้แหละ ผมก็จำรายละเอียดเรื่องMidi ได้ไม่มากนักน่ะครับ มันยังมีส่วนปลีกย่อยอีกมากมาย ถ้าสนใจโอกาสหน้าจะกลับไปรื้อๆตำราเอามาตอบให้นะครับ

 ไฟล์ดนตรีที่ใช้กับคอมพิวเตอร์มีอยู่ด้วยกันหลาย ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทเหมาะกับงานที่ต่างกัน ไฟล์รูปแบบหลักๆที่ใช้กับพีซี ได้แก่ Wave, CD Audio, MP3, WMA, RA ซึ่งทั้งหมดนี้ขอเรียกรวมกันว่าเป็นไฟล์รูปแบบคลื่นเสียง (waveform) ส่วนไฟล์ดนตรีอีกประเภทหนึ่งก็คือไฟล์ MIDI เรามาดูรายละเอียดของไฟล์ดนตรีแต่ละประเภทกันว่ามีลักษณะอย่างไร

Wave
ไฟล์ Wave (เวฟ) ที่มีนามสกุล .wav เป็นไฟล์ข้อมูลคลื่นเสียงที่บันทึกจากเสียงอนาล็อกเป็นรูปแบบดิจิตอล เก็บเอาไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ คล้ายกับการบันทึกเทปแต่เป็นการบันทึกไว้ในดิสก์ของคอมพิวเตอร์แทน Wave เป็นรูปแบบไพล์พื้นฐานของระบบพีซี มีขนาดไฟล์ใหญ่ สามารถกำหนดคุณภาพเสียงได้หลากหลาย เช่น เสียงโมโนหรือสเตอริโอ มีระดับความละเอียดน้อยมาก
CD Audio
เป็นแทร็ก เสียงดิจิตอลที่รูปแบบเหมือนกับไฟล์ Wave บรรจุไว้ในแผ่นซีดีเพลงด้วยรูปแบบพิเศษเฉพาะ ถ้าใส่แผ่นซีดีเพลงเข้าไปในไดรฟ์ซีดีรอมแล้วเปิด My Computer คุณจะเห็นชื่อไฟล์ในแผ่นซีดีมีนามสกุลเป็น . cda เช่นไฟล์ trac1.cda ซึ่งมันไม่ใช่ไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์อย่าง Wave หรือ MP3 คุณจึงไม่สามารถก๊อบปี้แทร็ก CD Audio เก็บไว้ในฮาร์ดิสก์ได้
MP3
MP3 (นามสกุล .mp3) เป็นไฟล์เสียงที่มีพื้นฐานจากไฟล์ Wave แต่มีขนาดเล็กกว่าประมาณ 8-10 เท่า เนื่องจากข้อมูลในไฟล์ถูกบับอัดให้เล็กลงแต่ยังคงคุณภาพไว้ใกล้เคียงต้นฉบับ ไฟล์ MP3 ได้รับความนิยมมากสำหรับการบันทึกเพลง ไฟล์ประเภทนี้ความยาว 4 นาที มีขนาดประมาณ 5MB สามารถก๊อบปี้เก็บไว้ในฮารด์ดิสก์ได้เหมือนไฟล์ข้อมูลข้อมูลปกติทั่วไป แต่การสร้างและการแก้ไขไฟล์ค่อนข้างซับซ้อน ก่อนที่จะสร้างไฟล์ MP3 ได้ คุณต้องใช้คอมพิวเตอร์บันทึกเสียงจากภายนอกให้เป็นไฟล์ Wave แล้ว จากนั้นจึงเข้ารหัสบีบอัดให้กลายเป็น MP3 หรือต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่สามารถบันทึกและเข้ารหัส MP3 ในทันทีได้
WMA
WMA (Windows Media Audio) เป็นไฟล์เสียงดิจิตอลรูปแบบใหม่กว่า MP3 มีการบีบอัดดีกว่า ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กกว่า MP3 คุณสมบัติทั่วไปเหมือนกับ MP3
RA
RA (Real Audio) เป็นไฟล์เสียงสำหรับใช้กับโปรแกรม Real Player โดยเฉพาะ มีพื้นฐานมาจากไฟล์ Wave แต่ถูกบีบอัดให้เล็กลงด้วยเทคโนโลยีเฉพาะ เพื่อใช้ในการรับส่งข้อมูลเสียงทางอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก
ไฟล์ MIDI
MIDI (Musical Instrument Digital Interface) (อ่านว่า มิดี้”) ที่มีนามสกุล .mid เป็นไฟล์ข้อมูลดนตรีที่ถูกบันทึกหรือโปรแกรมเอาไว้ เช่น เสียงเครื่องดนตรีต่างๆ ตัวโน๊ต ความเร็วจังหวะ ฯลฯ สำหรับนำไปใช้กับอุปกรณ์ดนตรี เช่น ซาวนด์การ์ด หรือ เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์เมื่อข้อมูลถูกส่งจากคอมพิวเตอร์เข้าสู่อุปกรณ์ ดนตรีจะทำให้ อุปกรณ์ดนตรีจะเล่นดนตรีตามข้อมูลในไฟล์ เหมือนกับคนอื่นมาเล่นดนตรีให้คุณฟังในวงการดนตรี MIDI คือลักษณะการต่อเชื่อมเครื่องดนตรีแบบดิจิตอล ใช้อ้างถึงความสามารถในการสื่อสารระหว่างเครื่องดนตรีผ่านทางพอร์ต MIDI (ช่องสำหรับเสียบสายสัญญาณ) โดยเครื่องดนตรีเครื่องหนึ่งส่งข้อมูลไปให้อีกเครื่องหนึ่ง เพื่อสั่งให้ทำงานหรือส่งเสียงตามที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น คุณเชื่อมต่อกีตาร์ไฟฟ้ากับคีย์บอร์ดเข้าด้วยกัน เมื่อคุณดีดกีต้าร์สมมุติว่าเป็นโน๊ตเสียงโด คีย์บอร์ดก็จะส่งเสียงโด ออกมาพร้อมกันทันที เหมือนกับมีอีกคนมาช่วยเล่นคีย์บอร์ดให้คุณ