Subscribe:

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มิกเซอร์เบื้องต้น





มิกเซอร์ จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆที่ทำหน้าที่ปรุงแต่งสัญญาณที่เข้ามาในแต่ล่ะปุ่มมิกเซอร์จะแยกหน้าที่การทำหน้าที่การทำงานที่แตกต่างกันออกไปต่อไปนี้จะเป็นรายระเอียดของปุ่มต่างๆบนมิกเซอร์ 

อินพุตแจ็ค (input jacks) 
ทำหน้าที่รับสัญญาณจากไมโครโฟนหรือจากเครื่องดนตรีต่างๆที่เป็นไลน์ (line) ตำแหน่งมักอยู่บนสุดของมิกเซอร์ลักษณะของเต้ารับสัญญาณ (jack) จะมีอยู่สามแบบคือ (RCA) (-10dBv) และ (XLR) การใช้เต้ารับสัญญาณนั้นขึ้นอยู่กับราคาของเครื่องมิกเซอร์นั้นหากมีราคาแพงเต้ารับสัญญาณจะเป็นแบบ XLR ส่วนมิกเซอร์แบบกึ่งโปรจะใช้เต้าแบบ RCA และแบบ1/4นิ้ว

แฟนทอม (phantom) 
ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับไมโครโฟนที่เป็นแบบคอนเดนเซอร์ (condenser) ไฟที่ออกมาจะเป็นไฟ (DC)ซึ่งมีแรงดันระหว่าง 12-48 โวลต์ (volt)

เฟส (phase) 
ทำหน้าที่ปรับแก้ไขเฟสที่ไม่ถูกต้องที่อาจเกิดจากการต่อขั้วสายผิดพลาดหรือการวางไมค์ที่ก่อให้เกิดการกลับเฟส (มักเกิดจากการวางไมค์มากกว่าสองตัวขึ้นไป) ให้คืนอยู่ในสภาพปกติ สวิตซ์เฟสนี้จะพบในมิกเซอร์ราคาแพงเท่านั้น

แพด ( pad) 
จะพบสวิตช์นี้ในมิกเซอร์ที่มีราคาแพงเท่านั้น ทำหน้าที่ลดความแรงของสัญญาณที่เข้ามาลง –20dB และในมิกเซอร์บางยี่ห้อจะใช้คำว่า MIC ATT (microphone attenuation) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกัน
สวิตช์เลือกไมค์,ไลน์,เทปอินพุต (mic/line/tape input select)
ทำหน้าที่เป็นตัวเลือกแหล่งสัญญาณที่เข้ามาเพื่อให้ความเหมาะสมของสัญญาณก่อนที่จะป้อนเข้ามาให้เหมาะสมกับภาคปรีแอมป์ (pre-amp) มากที่สุด และเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการแตกพร่า (distrotion) ในขณะใช้งานเราสามารถปรับระดับสัญญาณได้ด้วยการดูที่มิเตอร์ (vu meter)

พีคมิเตอร์ (peak meter) 
ทำหน้าที่คอยระวังความแรงของสัญญาณที่เข้ามาในแชนเนลนั้นๆของมิกเซอร์ input เพื่อไม่ให้มีค่าที่เกินค่าที่กำหนดไว้โดยไฟจะสว่างขึ้น เมื่อไฟสว่างให้ปรับลดที่เกน (gain) หรืออีคิว
วิธีการดูสัญญาณที่ขึ้นพีคนั้นสามารถช่วยให้สามารถเร่งความแรงของสัญญาณที่เข้ามาได้เต็มที่ ในขณะที่เราวัดจาก vu meter และทำให้ทราบได้ว่ามีช่วง ไหนของสัญญาณทีมีความแรงที่สุด
โลว์พาสฟิลเตอร์ (lowpass-filter) 
ทำหน้าที่ตัดสัญญาณความถี่สูงระหว่าง 8-10kHz เพื่อไม่ให้ผ่านไปได้ แต่ยอมให้ความถี่ต่ำผ่านได้โดยสะดวก ซึ่งในเครื่องมิกเซอร์ราคาแพงๆสามารถตั้งค่าความถี่สูงที่ต้องการตัดไม่ให้ผ่านได้อีกด้วย

ไฮพาสฟิลเตอร์ (highpass-filter) 
ทำหน้าที่ตัดสัญญาณเฉพาะย่านความถี่ต่ำประมาณ 80-100 Hz ไม่ให้ผ่านไปได้แต่ยอมให้ความถี่สูงผ่านไปได้ ซึ่งในเครื่องมิกเซอร์ราคาแพงๆสามารถตั้งค่าความถี่สูงที่ต้องการให้ผ่านได้อีกด้วย


แชนเนลมิวต์ (channel mute) 
ทำหน้าที่ปิดเปิดสัญญาณที่เข้ามาในแต่ละแชนเนลของมิกเซอร์ ประโยชน์ของปุ่มนี้ช่วยให้กำหนดการปิดเปิดของสัญญาณที่ได้ยินแต่ล่ะช่องเป็นอิสระ

อินเสิร์ตแจ็ค (insert jack) 
ทำหน้าที่เหมือนสวิตซ์ร่วมที่เชื่อมอุปกรณ์จากภายนอกเพื่อให้เข้ามาผสมกับสัญญาณที่อยู่ในแต่ล่ะแชนเนลของมิกเซอร์ ทำให้แยกสัญญาณจากแชนเนลเพื่อส่งไปเข้าเครื่องมือช่วยปรุงแต่งเสียงต่างๆ (signal processor) เช่นคอมเพรสเซอร์ หรือ ดีเลย์ เป็นต้น ได้เป็นอิสระแต่ล่ะช่องเสียง (channel)

อีควอไลเซอร์ (equalizer) 
ทำหน้าที่ปรับความถี่ของสัญญาณที่เข้ามาเพื่อปรับแต่งหาความถูกต้องตามที่ต้องการเรานิยมเรียกย่อๆว่า (EQ) ลักษณะการทำงานของอีคิวจะมีตั้งแต่แบบง่ายๆสองย่านความถี่คือเสียงสูง (treble) และความถี่ต่ำ (bass) ไปจนถึงแบบละเอียดที่มีครบทุกความถี่ (สูงกลางต่ำ) ซึ่งจะเป็นอีคิวแบบที่เรียกว่า พาราเมตริก อีคิว (parametric eq)
อีคิวบายพาส (EQ bypass) 
ทำหน้าที่ปิดหรือเปิดในการใช้อีคิวหรือจะไม่ใช้ ทั้งนี้เพื่อการรับฟังเปรียบเทียบการใช้อีคิวและไม่ใช้ ว่าสัญญาณเสียงก่อนใช้อีคิวและหลังใช้จะเป็นอย่างไร

เฟดเดอร์ (fader) 
ทำหน้าที่ปรับเพิ่มระดับสัญญาณที่เข้าและออกไปจากมิกเซอร์ output เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องขยายเสียง บางครั้งเรานิยมเรียกทั่วไปว่าโวลุ่ม (volume)
สตูดิโอเลฟเวล (studio level) 
ทำหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงที่ออกมาจากมิกเซอร์เพื่อส่งเข้าไปยังห้องที่บันทึกเสียงเครื่องดนตรีก็คือห้อง studio นั่นเอง

คอนโทรลรูมเลฟเวล (control room level) 
ทำหน้าที่ควบคุมความดังของเสียงที่ได้ยินทั้งหมดจากมิกเซอร์ที่อยู่ภายในห้องควบคุมเสียง (control room level

โซโล (solo) 
ทำหน้าที่ตัดสัญญาณแต่ล่ะช่องเสียงออกมาเพื่อการรับฟังโดยอิสระโดยเราจะได้ยินเฉพาะช่องเสียงที่เรากดปุ่มโซโลใช้งานอยู่เท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องปิดร่องเสียงอื่นๆ เช่น ในขณะที่กำลังฟังเสียงที่เข้ามาในมิกเซอร์สี่ช่องเสียงพร้อมๆกัน และเราต้องการฟังตรวจสอบเสียงจากช่องเสียงที่สองเพียงช่องเดียว เราก็กดปุ่มโซโลลงไปเราจะได้ยินเสียงจากช่องเสียงที่สองเท่านั้นซึ่งมันจะทำหน้าที่ตัดแยกเสียงในช่องเสียงอื่นๆให้เงียบโดยอัตโนมัติ

โซโลเลฟเวล (solo level) 
ทำหน้าที่ควบคุมสัญญาณของโซโลในช่องเสียงต่างๆบนมิกเซอร์ทั้งหมด ว่าให้อยู่ในระดับความดังเบาที่เท่าไรตามความต้องการของเอ็นจิเนียร์ เพื่อความสมดุลย์ของเสียงเมื่อกดออกเพื่อฟังรวมกับระดับปกติ

ออกซีไลอะรี่ (auxiliary) 
เรียกย่อๆว่าออกเซนด์ (aux send) ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายสัญญาณที่เข้ามาในแต่ล่ะช่องเสียงเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงต่างๆ หรือแหล่งรับสัญญาณอื่นๆตามที่เราต้องการ อ๊อกเซนด์ (aux send) จะมีมาสเตอร์อ๊อก (master aux) ซึ่งควบคุมความแรงของสัญญาณอ๊อกทั้งหมดในทุกช่องเสียงบนมิกเซอร์อีกต่อหนึ่ง

ปรี (pre) 
หมายถึงสัญญาณที่เข้ามาในแชนเนลเสียงมิกเซอร์ จะถูกดักออกมาก่อนที่จะผ่านเข้าสู่เฟดเดอร์หลักที่มิกเซอร์(เฟดเดอร์นี้มักจะอยู่ล่างสุดและมีลักษณะยาว) ซึ่งเมื่อดึงเฟดเดอร์หลักลงมาเพื่อลดสัญญาณเสียงลง สัญญาณเสียงก็จะไม่เบาตามไปด้วยแต่จะไปดังออกที่ภาคปรี (pre) ซึ่งอาจจะพ่วงต่อไปยังเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เช่น รีเวอร์บ เป็นต้น ดังนั้นเสียงที่ยังคงได้ยินก็จะเป็นเสียงที่มาจากรีเวอร์บนั่นเอง ผลคือสัญญาณที่เข้ามาจะเป็นอิสระไม่ขึ้นกับเฟดเดอร์หลักที่ทำให้สามารถนำสัญญาณนั้น ๆ ไปใช้เพื่อผลทางเสียงได้ตามแต่ต้องการหรือสร้างสีสรรทางเสียงและมิติได้อีกทางหนึ่ง

โพสต์ (post) 
หมายถึงสัญญาณที่เข้ามาแชนเนลเสียงของมิกเซอร์ จะมีผลดังเบาตามเฟดเดอร์หลัก
คือเมื่อเราลดเฟดเดอร์ลงสัญญาณที่เข้ามาก็จะลงตามไปด้วย แม้ว่าสัญญาณจะถูกแยกส่งออกไปยังเอฟเฟคอื่น ๆ ก็ตาม

แพน (pan) 
ทำหน้าที่เคลื่อนย้ายตำแหน่งสัญญาณให้ไปทางซ้ายหรือขวาและทำหน้าที่เป็นตัวถ่ายโอนสัญญาณลงร่องเสียง(track)เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องบันทึกเทปอีกด้วย


กรุ๊ปหรือบัส (group or bus) 
ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่เข้ามาจากหลายช่องเสียง(channel)เพื่อรวมสัญญาณให้ออกที่ output เดียว เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องบันทึกเทปหรือเครื่องขยายเสียงหรือช่องเสียงภายในมิกเซอร์เอง เช่น เราสามารถกรุ๊ปหรือบัสเสียงกลุ่มนักร้องประสานเสียงจากหลาย ๆ ช่องเสียงบนมิกเซอร์ ให้ออกเป็นช่องเสียงเดียวได้ด้วยการควบคุมเฟดเดอร์เพียงตัวเดียวเพื่อสะดวกต่อการควบคุมความดังเบาของสัญญาณทั้งหมด การส่งสัญญาณบัสหรือกรุ๊ปทำได้ด้วยการใช้แพน(pan) เป็นตัวจ่ายสัญญาณว่าไปทางไหนควบคู่ไปกับช่องเลือกสัญญาณ (track selected)

เลือกแทรคเสียง (track selected) 
ในมิกเซอร์ที่มีราคาแพงนั้นจะอยู่บนสุดเป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายสัญญาณว่าจะให้ออกไปสู่ช่องเสียงใดที่เครื่องบันทึกเทปแบบมัลติแทรคซึ่งอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า ไดเร็กต์แอสไซน์ (direct assign)

ไดเร็กต์เอาต์พุต (direct output) 
ทำหน้าที่ดักสัญญาณที่เข้ามาโดยไม่ผ่านปุ่มต่าง ๆ บนมิกเซอร์เพื่อให้สามารถนำสัญญาณสด ๆ นี้ไปพ่วงกับอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียง(effects)หรือเครื่องบันทึกเสียงได้โดยตรงตามแต่วัตถุประสงค์

เอฟเฟ็กต์เซนด์ (effect send) 
ทำหน้าที่จ่ายสัญญาณออกมาจากตัวมิกเซอร์ในแต่ละช่องเสียงไปสุ่เอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เช่น รีเวิร์บ (reverb) หรือดีเลย์ซึ่งมักใช้ปุ่ม aux เป็นตัวส่งสัญญาณ

เอฟเฟ็กต์รีเทอร์น (effect return) 
ทำหน้าที่รับสัญญาณที่ผ่านมาจากอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกป้อนมาจาก effect send อีกทีหนึ่งเพื่อการได้ยินเสียงที่ส่งออกมาจากเครื่องเอฟเฟ็กต์

สเตอริโอมาสเตอร์แฟดเดอร์ (stereo master fader) 
มีอยู่สองลักษณะคือแบบ สไลด์โวลุ่ม (slide volume) และแบบหมุน (rotarypot)
ทำหน้าที่เป็นตัวปรับความดังเบาของสัญญาณทั้งหมดบนมิกเซอร์ทั้งซ้ายและขวาก่อนที่จะออกไปสู่เครื่องมือต่างๆ

กรุ๊ปหรือบัสเอาต์พุตแฟดเดอร์ ( group or buss output faders ) 
บางที่เรียกว่ากรุ๊ปเฟดเดอร์ (supgroup faders) ควบคุมการส่งออกของสัญญาณที่มาจากกรุ๊ปหรือบัสอินพุตแฟดเดอร์ ( buss input fader) โดยจะแยกเป็นสเตอริโอซึ่งมีแพน (pan) ทำหน้าที่ควบคุมการส่งสัญญาณไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อผลของการมิกซ์เสียง (mixdown) หรือการจัดตำแหน่งสัญญาณ

สเตอริโอบัสอินพุต (stereo buss input) 
ทำหน้าที่รองรับสัญญาณจากแหล่งสัญญาณอื่นๆเพื่อให้สามารถนำสัญญาณมาใช้สัญญาณร่วมกัน เช่นกรณีที่ใช้มิกเซอร์สองตัวโดยตัวแรกใช้สำหรับรองรับสัญญาณจากเครื่องดนตรีและเสียงร้อง ส่วนตัวที่สองใช้สำหรับกล ุ่มคีย์บอร์ด แต่เราต้องการควบคุมสัญญาณทั้งหมดจากมิกเซอร์ตัวแรกเราสามารถทำได้โดยการส่งสัญญาณจากมิกเซอร์ในตัวที่สองจากภาคเอาต์พุตสเตอริโอ (output stereo) แล้วต่อเข้าที่ สเตอริโอบัส (stereo buss) ที่ว่านี้ในมิกเซอร์ตัวแรกซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมระดับความแรงเบาของสัญญาณจากมิกเซอร์ตัวที่สองได้ที่มิกเซอร์ในตัวแรกในภาคสเตอริโอบัสของมิกเซอร์ตัวแรก

อ๊อกซีไลอะรี่รีเซนด์มาสเตอร์ (auxiliary send masters)
ทำหน้าที่ควบคุมความดังเบาของสัญญาณทั้งหมดที่มาจาก aux จากแต่ล่ะช่องเสียงในมิกเซอร์ หากเราปิด aux send master ถึงแม้เราจะส่งสัญญาณจาก aux ในแต่ล่ะแชนเนลก็จะไม่มีเสียงดัง ในทางตรงกันข้ามหากเราเพิ่มระดับความแรงของ aux send master ความแรงของสัญญาณจาก aux ในแต่ล่ะช่องเสียงบนมิกเซอร์ก็จะดังทั้งหมด

เนื้อหาจากเว็บ http://www.winnerintegrator.com