Subscribe:

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555


 การตั้งสายกีตาร์ด้วยฮาร์โมนิค
วันนี้เราจะมาเรียนรู้การตั้งสายกีตาร์ด้วยฮาร์โมนิค   การตั้งสายกีตาร์ด้วยฮาร์โมนิค เป็นอีกวิธีที่น่าสนใจและค่อนข้างจะเที่ยงตรงด้วยสำหรับรายละเอียดของฮาร์โม นิค  การทำเสียงฮาร์โมนิคนั้นไม่ยากนักเพียงแค่คุณวางนิ้วมือคุณบนสายกีตาร์ตรง เหนือเฟร็ตกีตาร์พอ ดีและไม่ต้องกดเพียงแค่วางแตะเอาไว้  (เฟร็ตที่ให้เสียง ฮาร์โมนิคที่ชัดเจนที่สุดคือเฟร็ตที่ 5, 7,และ12 เป็นต้น) การดีดให้ดีดใกล้ ๆ บริดจ์เสียงจะชัดเจนกว่า  หลักการก็  คือ

  1. เทียบเสียงสาย 6 และ 5 โดยวางนิ้วบนสายที่ 6 เหนือเฟร็ตที่ 5 และสายที่ 5 เหนือเฟร็ตที่ 7 แล้วดีดทั้ง 2 สายเทียบกันปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคนั้นเท่ากัน
  2. เทียบเสียงสาย 5 และ 4 โดยวางนิ้วบนสายที่ 5 เหนือเฟร็ตที่ 5 และสายที่ 4 เหนือเฟร็ตที่ 7 แล้วดีดทั้ง 2 สายเทียบกันปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคนั้นเท่ากัน
  3. เทียบเสียงสาย 4 และ 3 โดยวางนิ้วบนสายที่ 4 เหนือเฟร็ตที่ 5 และสายที่ 3 เหนือเฟร็ตที่ 7 แล้วดีดทั้ง 2 สายเทียบกันปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคนั้นเท่ากัน
  4. เทียบเสียงสาย 6 และ 2 โดยวางนิ้วบนสายที่ 6 เหนือเฟร็ตที่ 7 และสายที่ 2 สายเปล่าคือไม่ต้องกดช่องใดเลย แล้วดีดทั้ง 2 สายเทียบกันปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคสาย 6 นั้นเท่ากับสายเปล่าสาย 2
  5. เทียบเสียงสาย 5 และ 1 โดยวางนิ้วบนสายที่ 5 เหนือเฟร็ตที่ 7 และสายที่ 5 สายเปล่าคือไม่ต้องกดช่องใดเลย แล้วดีดทั้ง 2 สายเทียบกันปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคสาย 5 นั้นเท่ากับสายเปล่าสาย 1
หรือเทียบเสียงสาย 2 และ 1 โดยวางนิ้วบนสายที่ 2 เหนือเฟร็ตที่ 5 และสายที่ 1 เหนือเฟร็ตที่ 7 แล้วดีดทั้ง 2 สายเทียบกันปรับจนระดับเสียงของฮาร์โมนิคนั้นเท่ากันก็ได้เช่นกัน ตามรูป F ปัญหาคือคุณต้องพยายามฝึกทักษะการฟังของคุณและการเล่นฮาร์โมนิคที่ชัดเจน

ขอขอบคุณจาก  xn--12c4b1b3cn5l.net

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หลักในการจัดวางไมโครโฟน




หลักในการจัดวางไมโครโฟน (Microphone Placing)
              ในการจัดวางไมโครโฟนนั้น ไม่มีกฎตายตัว เพราะมีตัวแปรมากมาย เช่น ลักษณะเสียงของห้องส่งหรือห้องบันทึกเสียง ประเภทของดนตรี ฯลฯ ผู้ที่จะตัดสินชี้ขาดว่าไมโครโฟนวางถูกที่แล้วหรือยัง ย่อมได้แก่ผู้ทำหน้าที่ผสมเสียง (Mixing)
              แต่เราก็อาจวางเป็นแนวกว้าง ๆ พอเป็นจุดเริ่มต้นได้ ด้วยว่าแหล่งที่ตั้งของไมโครโฟนย่อมมีผลต่อเสียงที่จะดังออกมาในด้านต่าง ๆ คือ
            1. คุณภาพของเสียง                  เสียงพูดหรือเสียงเครื่องดนตรี ที่ดังผ่านมาเหมือนของจริงมากน้อยเพียงใด
            2. ดุลยภาพของเสียง                สัดส่วนความดังของเสียงต่าง ๆ ทั้งเสียงพูดและเสียงเครื่องดนตรีเมื่อเทียบเคียงกัน
            3. ความใกล้  ไกลของเสียง         ระยะทางจากแหล่งเสียง
            4. การตัดแยกเสียง              รัศมีของไมโครโฟนที่สามารถเก็บเสียงเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งที่ต้องการ โดยไม่เก็บเสียงเครื่องดนตรีอื่นด้วย
หมายเหตุ      แต่เวลาลงมือทำงานจริง ๆ เรามักพบข้อที่ขัดแย้งกันเสมอ จึงจำเป็นที่ต้องผ่อนปรนแก่กัน
1. คุณภาพ (Quality)
       เสียงพูด
                        โดยปกติคุณภาพของเสียงพูดจะออกมาเยี่ยม เมื่อวางไมโครโฟนตรงหน้าปากผู้พูด แต่ในวงการโทรทัศน์ภาพที่จะออกบนจอมักบังคับอยู่ ทำให้ต้องวางไมโครโฟนเฉียง ๆ คุณภาพของเสียงจึงออกมาอยู่ในระดับพอใช้ได้ ถ้าไมโครโฟนทำมุมกับแกนของเสียงไม่เกิน 45 องศา แต่อาจต้องใช้เครื่องกรองเสียงเข้าช่วย
                        หรือเราอาจใช้ไมโครโฟนห้อยประจำตัวก็ได้ ซึ่งให้คุณภาพเสียงดีพอประมาณ แต่ก็อาจต้องมีการปรับความถี่ของเสียงด้วย  คุณภาพเสียงจะดีถ้าไมโครโฟนอยู่ใกล้แกนของเสียง
            เครื่องดนตรี
                        เครื่องดนตรีมีมากมายหลายชนิด และวิธีใช้ก็ต่าง ๆ กัน จึงพอให้หลักกว้าง ๆ ดังนี้
            1. เครื่องดนตรีหลายชนิดกระจายเสียงซึ่งมีคุณภาพต่างกัน จากส่วนต่าง ๆ ของเครื่องดนตรี เช่น ไวโอลิน เชลโล เปียนโน และออร์แกน เป็นต้น
                        ถ้าเราวางไมโครโฟนชิดเครื่องดนตรีเหล่านี้ เราจะเก็บได้แต่เสียงใกล้ ๆ ตัวไมโครโฟนเท่านั้น เพราะฉะนั้นไมโครโฟนควรอยู่ห่างพอที่จะเห็น หรือได้เสียงดนตรีทั้งเครื่อง แต่จะทำให้เกิดปัญหาตัดแยกเสียง
            2. เครื่องเป่าลม เช่น ฟลุท ขลุ่ย แคลริเน็ท ปี่ และแซ็กโซโฟน ส่งเสียงออกทางตัวเครื่องและรูที่นิ้วขยับปิดเปิด
                        ฉะนั้นสมมุติว่าเราตั้งไมโครโฟนเข้าหาทางปากกระบอกของปี่แคลริเน็ท เราจะไม่ได้เสียงที่ดีเท่ากับถ้าเราวางไมโครโฟนให้  มองเห็น ปี่แคลริเน็ททั้งเลา
                        ถ้าเราวางไมโครโฟนชิดมาก จะทำให้เราได้เสียงต่าง ๆ ที่พึงปรารถนา เช่น เสียงกดปุ่มต่าง ๆ
            3. เครื่องแตรทองเหลืองส่วนใหญ่ ได้เสียงดีเวลาวางไมโครโฟนหันเข้าหากระบอกของแตร ยกเว้นแตร French Horn ซึ่งมีปากกระบอกยื่นไปข้างหลังผู้เป่า จะให้เสียงดีต้องมีฉากสะท้อนเสียงตั้งอยู่ข้างหลังผู้เป่าแตร และตั้งไมโครโฟนด้านหน้าผู้เป่า
                        พวกแตรทองเหลืองตัวใหญ่ ๆ เช่น Euphonium , Tuba กระจายเสียงออกได้ทุกทิศพอใช้ ยกเว้นเสียงในความถี่สูง

2. ดุลยภาพของเสียง (Balance)
              ปัญหาการจัดวางไมโครโฟนให้เกิดดุลยภาพของเสียง จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราใช้ไมโครโฟนน้อยตัวเท่านั้น
                        ในกรณีที่มีไมโครโฟนให้ใช้ได้หลาย ๆ ตัว เราวางไมโครโฟนให้ใกล้เครื่องดนตรีให้มากที่สุด เพื่อตัดแยกเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง ส่วนการจัดเรื่องดุลยภาพของเสียง เราทำที่โต๊ะผสมเสียง หรือมิฉะนั้นเราอาจใช้ไมโครโฟนเพียงตัวเดียวสำหรับเก็บเสียงวงดุริยางค์ทั้งวง และอาจมีไมโครโฟนเสริมอีกเพียง 2-3 ตัว ถ้าคิดจะจัดไมโครโฟนอย่างในกรณีหลัง ที่ตั้งวางไมโครโฟนและมุมของไมโครโฟนยิ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้น ถ้าเราจะให้ได้สัดส่วนความดังของเสียงจากแต่ละส่วนของวงดุริยางค์ให้ถูกต้องและพอดี
3. ความใกล้-ไกลของเสียง (Perspective)
              การจัดให้เกิดความใกล้-ไกลของเสียง เป็นการจัดเรื่องดุลยภาพของเสียงอย่างหนึ่ง ในที่นี้เป็นการจัดดุลยภาพของเสียงระหว่างเสียงที่รับทางตรงกับเสียงที่ได้ทางอ้อม(หมายถึง เสียงสะท้อนหรือเสียงกังวาน)
                        ระบบไมโครโฟนกับการขยายเสียง มักจะเน้นการเปลี่ยนแปลงระยะความใกล้-ไกลของเสียง  แต่ในชีวิตจริงถ้าผู้ที่กำลังพูดอยู่ห่างเราประมาณ 1 เมตร เกิดเคลื่อนห่างเราไปอีก 1 เมตร เป็น 2 เมตร เราจะไม่รู้สึกเลยว่ามีความแตกต่างของเสียงเกิดขึ้น เราจะไม่รู้สึกว่าเสียงแผ่วลง แต่ถ้าเราทำอย่างเดียวกันต่อหน้าไมโครโฟน คือถอยห่างจากไมโครโฟนจาก 1 เมตร เป็น 2 เมตร เราจะจับความแตกต่างของเสียงได้ชัดทีเดียว
                        เวลาอยู่ในเครื่องส่งหรือบันทึกเสียงรายการบรรยายทางวิทยุ ถ้าเราพูดให้ห่างจากไมโครโฟนประมาณ 50-70 เซนติเมตร (1.5-2 ฟุต) ในระยะดังกล่าวนี้ เป็นที่ยอมรับว่าทำให้เกิดลักษณะเสียงใกล้-ไกลที่ใช้ได้ แต่สำหรับงานโทรทัศน์มีเรื่องภาพในจอคอยบังคับอยู่ ไมโครโฟนมักต้องอยู่ไกลกว่าระยะที่ว่านี้ ถ้าเราฟังแต่เสียงเฉย ๆ เราจะรู้สึกเชียวว่าเสียงอยู่ไกล แต่เผอิญเรามองเห็นผู้พูดอยู่ในจอใกล้ ๆ สมองจึงสามารถปรับให้เรายอมรับเสียงดังกล่าวได้
4. การตัดแยกของเสียง (Separation)
            เราสามารถตัดแยกเสียงได้ด้วยการจัดวางไมโครโฟนให้ถูกจุด
                        1. วางชิดแหล่งเสียง
                        2. จัดวางไมโครโฟนที่เลือกรับเสียงเป็นทิศทางให้ได้มุมที่เหมาะ เพื่อไม่ต้องรับเสียงที่ไม่ต้องการ
            ในเรื่องของการตัดแยกของเสียงนี้ บางครั้งต้องยอมผ่อนปรนกันบ้าง ถ้าเราต้องการรักษาคุณภาพเสียงของเครื่องดนตรีชิ้นนั้นให้คล้ายเสียงจริง
            ยังมีวิธีการช่วยเรื่องตัดแยกของเสียงได้อีก ด้วยการใช้ห้องส่งหรือห้องบันทึกเสียงที่ไม่มีความก้อง ใช้เครื่องกรองเสียงช่วย จัดวางเครื่องดนตรีอย่างระมัดระวัง และการใช้ฉากAcoustic


วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555


ดิจิทัลทีวี (Digital Television)

E-mailPrintPDF
digital-tv_001
Digital TV คือ ทีวีที่ทำงานในรูปแบบดิจิตอลสัญญาณภาพ และเสียงในรูปแบบของดิจิตอลมีคุณภาพที่ดีกว่า Analog โดยภาพและเสียงมีความคมชัดกว่ามาก อีกทั้งยังมีการถูกรบกวนในอัตราที่น้อยกว่า

นอกจาก Digital TV จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่า Analog ในด้านคุณภาพของสัญญาณแล้วยังถือว่าเป็นการใช้ความถี่ที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในระบบ Digital TV มีการส่งข้อมูลเป็น bit และสามารถส่งข้อมูลได้มากกว่าแบบ Analog มีการผสมคลื่นแบบ COFDM (Coded Orthogonal Frequency Division Multiplexing) โดยในหนึ่งช่องสัญญาณจะสามารถนำส่งไปยังหลายรายการโทรทัศน์ จึงเรียกได้อีกแบบหนึ่งว่า การแพร่กระจายคลื่นแบบหลากหลายรายการ (Multicasting) ในหนึ่งช่องสัญญาณ การส่งสัญญาณเป็นแบบดิจิตอลจึงทำให้ได้คุณภาพของภาพและเสียงดีกว่าด้วย
ยกตัวอย่างเช่น โทรทัศน์ระบบ HDTV โดยทั่วไป Digital Television จะใช้สัญญาณ Digital ที่ถูกบีบอัด และเข้ารหัสซึ่งอาจเป็นรูปแบบ MPEG-๒ หรือ MPEG-๔ ส่งผลให้ในการรับชมนั้นจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ถอดรหัส ซึ่งอาจมีมาพร้อมกับตัวเครื่องรับโทรทัศน์ เช่น โทรทัศน์รุ่นใหม่ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อรองรับระบบดิจิตอล หรือจะเป็นอุปกรณ์ถอดรหัสที่แยกกัน เช่น อุปกรณ์เครื่องรับสัญญาณที่เรียกว่า STB (Set Top Box) ซึ่งใช้ถอดรหัสสัญญาณและป้อนให้กับเครื่องรับโทรทัศน์ Analog ที่มีใช้งานทั่วไป หากเป็นการรับชมด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (Personal Computer) จะสามารถใช้การ์ดรับสัญญาณที่สามารถถอดรหัสได้เลย สรุปก็คือ Digital TV ในหนึ่งช่องสัญญาณจะสามารถนำมาส่งได้หลายรายการโทรทัศน์
digital-tv_002
อนาลอก หรือดิจิตอล
ระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial) ที่ให้บริการในประเทศไทย เริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรกเป็นระบบอนาลอก (AnalogTV) เมื่อปีพ.ศ 2498 โดย“สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวี” เป็นการส่งด้วยระบบขาวดำ M/NTSC 525 เส้น ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงจากระบบเดิม คือ ระบบ M/NTSC มาเป็นระบบทีวีสี PAL – B 625 เส้น ที่นิยมใช้กันในแถบยุโรป ด้วยความกว้างของช่องสัญญาณแต่ละช่อง (Bandwidth) เท่ากับ 6-7 MHz ทั้งนี้การส่งสัญญาณแบบอนาลอก ปัจจุบันถึงขีดจำกัดในการพัฒนาเทคนิคและคุณภาพของความคมชัดของภาพในการส่ง จึงไม่มีการพัฒนา HDTV แบบอนาลอก (High Definition TV) แต่ได้มีการพัฒนาระบบทีวีที่เป็นดิจิตอลขึ้นมาเพื่อรองรับการส่งข้อมูลภาพที่มีความละเอียดมากขึ้น โดยอาศัยอัลกอริทึม MPEG2 หรือ MPEG4 ที่เป็นหัวใจสำคัญในการที่จะบีบอัดสัญญาณภาพและเสียงให้มีบิตเรทที่น้อยลง และสามารถส่งแพร่ภาพเป็นลักษณะของ Digital Packets ไปยังผู้รับปลายทางได้
มีหลาย ๆ นิยามสำหรับ “ดิจิตอลทีวี” แต่โดยภาพรวมแล้วดิจิตอลทีวี เป็นระบบการรับส่งสัญญาณภาพและเสียงที่มีข้อมูลที่มีการเข้ารหัสเป็นดิจิตอล ทีมีค่า “0” กับ “1” เท่านั้น โดยมีกระบวนการต่าง ๆ ที่จะทำการแปลงสัญญาณภาพและเสียงให้เป็นดิจิตอล มีการบีบอัดข้อมูล ทำการเข้ารหัสข้อมูล ก่อนที่จะทำการมอดูเลตข้อมูลดิจิตอลเหล่านี้เพื่อส่งผ่านตัวกลางไปสู่ผู้รับปลายทางซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับระบบทีวีอนาลอก
digital-tv_004
ะบบดิจิตอลทีวี
ระบบดิจิตอลทีวีที่คิดค้นกันขึ้นมา ปัจจุบันมีอยู่ 3 ระบบคือ ATSC ของอเมริกาเหนือ DVB ของยุโรป และ ISDB ของญี่ปุ่น ซึ่งทั้งหมดสามารถส่งสัญญาณภาพวิดีโอและเสียงออดิโอที่มีคุณภาพมากขึ้น (เช่น HDTV และ 5.1 Dolby surround) รวมทั้งข้อมูลบริการ (Data) อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ ซึ่งทั้งหมดเป็นลักษณะของดิจิตอลจึงไม่แปลกที่ต่อไปทีวีจะสามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เนตได้ สามารถชอปปิ้ง เล่นเกมส์ออนไลน์ โหวตให้คะแนนดารา หรือทำงานในลักษณะ Interactive ต่างๆ ได้มีบริการในลักษณะของ VoD (Video on Demand) โดยมีรายการต่าง ๆ ให้เลือกชมอย่างมากมายระบบส่งสัญญาณที่เป็นดิจิตอลทีวีแสดงได้ดังในรูป ประกอบด้วยส่วนสำคัญต่างๆ ดังนี้คือ ตัวMPEG encoder ทำหน้าที่ในการบีบอัดสัญญาณภาพและเสียงเพื่อให้มีบิตเรทที่ลดลงหลายๆ เท่า (เช่น ที่ความละเอียด 720x480/576 pixels และความเร็วภาพ 30 fps (SDTV) ตัวบีบอัดสัญญาณ MPEG2 สามารถลดบิตเรตที่ต้องใช้จาก 120-150 Mbps ให้เหลือแค่ประมาณ 49 Mbps เท่านั้น) หลังจากนั้น ตัว Packetizer ทำหน้าที่ในการแบ่งข้อมูลที่เป็น Streaming data ที่ออกมาจากตัว บีบอัดสัญญาณให้เป็น Packet ที่เรียกว่า PES (Packetized Elementary Stream) ก่อน แล้วทำการจัดแบ่งความยาวของข้อมูลให้เหมาะสมตามลักษณะการใช้งานอีกครั้งหนึ่ง กรณีที่ส่งข้อมูลไปยัง Media Storage ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือแผ่นดีวีดี ที่มีสัญญาณรบกวนน้อย ข้อมูลในแต่ละ Packet ก็สามารถส่งคราวละมาก ๆ ได้ (เช่น 2Kbytes) เรียกว่า MPEG2Program Stream ส่วนกรณีที่ส่งข้อมูลผ่านตัวกลางที่มีสัญญานรบกวนมากๆ เช่น การส่งออกอากาศก็จะต้องแบ่งข้อมูลให้สั้นลงเพื่อความปลอดภัยของการส่ง เราเรียกว่า MPEG2 Transport Stream ซึ่งในแต่ละ Packet จะถูกกำหนดมีความยาวคงที่แค่ 188 ไบต์เท่านั้น
Multiplexer ทำหน้าที่ในการมัลติเพลกข้อมูล Packet ต่างๆ ที่เป็นทั้งภาพ เสียง หรือข้อมูลอื่น ๆ เข้าด้วยกันเป็น Streaming เดียว ก่อนที่จะเข้าไปทำการ Channel Coding สำหรับการเข้ารหัสเพื่อให้แต่ละ Packet โดยจะมีการเพิ่มไบต์พิเศษเข้าไป 16ไบต์ (รวมเป็น 204 ไบต์ในแต่ละ Packet กรณีที่เป็น Transport Stream) เพื่อให้ด้านรับสามารถตรวจสอบข้อมูลว่ามีความถูกต้องหรือไม่ ทั้งยังสามารถ Recover ไบต์ที่ผิดต่าง ๆ ได้สูงสุดถึง 8 ไบต์ ในขั้นตอนสุดท้าย ตัว Modulation จะทำหน้าที่ในการมอดูเลตข้อมูลดิจิตอลในแบบต่างๆ เพื่อส่งผ่านตัวกลางไปยังผู้รับ ซึ่งอาจจะเป็น QPSK, QAM หรือ COFDM กรณีที่เป็นการส่งผ่านดาวเทียม (DVB-S) หรือสายเคเบิ้ล (DVB-C) หรือออกอากาศภาคพื้นดิน (DVB-T) ตามลำดับ ซึ่งจะได้ช่องการส่งข้อมูลดิจิตอลที่มีความเร็วบิตเรตที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ช่องสัญญาณทีวีภาคพื้นดินที่มีความกว้างแบนด์วิธ 6-7MHzสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 19.3 Mbps ทำให้เราใส่ช่องรายการทีวีปกติปัจจุบันได้ถึง 4-5 ช่องเลยทีเดียว (เรียกลักษณะการแพร่ภาพแบบนี้ว่า Multicast) หรืออาจใส่ช่องรายการที่มีคุณภาพภาพและเสียงในระดับ HDTV เข้าไปได้เลย

สรุป
ดิจิตอลทีวี เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของการดูทีวีในปัจจุบันมีบริการใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ภาพเสียงชัดเจนขึ้น และมีการใช้งานช่องความถี่ได้คุ้มค่ามากขึ้น แต่แน่นอนว่าก็จะต้องมีการลงทุน ทั้งในส่วนของผู้ให้บริการเองที่จะต้องเปลี่ยนเครื่องมือในระบบการส่งสัญญาณภาพจากอนาลอกเป็นดิจิตอล และส่วนของผู้รับบริการที่จะต้องมีตัวอุปกรณ์เพิ่มเติมที่สามารถทำการถอดรหัส(Decode) สัญญาณดิจิตอลที่ส่งมาได้ เรียกว่า Converter Box หรือ Set-top Box ก่อนที่จะเป็นภาพที่แสดงได้ด้วยทีวีปัจจุบัน ถามว่าบ้านเราจะมีใช้งานกันเมื่อไร คำตอบคงเป็นอีกหลายปีครับ เท่าที่ทราบมีการตั้งเป็นนโยบายร่วมกับหลายๆ ประเทศในแถบภูมิภาคนี้ให้มีการเปลี่ยนภายในปี 2015 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะเร็วจะช้าก็คงต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐ รวมทั้งกทช. (สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) ของเรา ที่จะเป็นตัวผลักดันให้เกิดขึ้น เช่น ในช่วงของการเปลี่ยน(Transition) จากระบบเดิม มาเป็นระบบใหม่ ก็อาจจะมีงบสนับสนุนมายังประชาชนในการที่จะซื้อ Set-top Box มาใช้เหมือนที่ทำกันในอเมริกา หรือการลดภาษีการนำเข้าเครื่องส่งต่างๆ สำหรับผู้ให้บริการเป็นต้น

ระบบ HDTV


HDTV : High Definition Television

        HDTV ย่อมาจากคำว่า High Definition Television แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "โทรทัศน์ความคมชัดสูง หรือ โทรทัศน์รายละเอียดสูง" ซึ่ง HDTV เป็นรูปแบบของระบบดิจิตอล Digital ที่ดีกว่าโทรทัศน์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน (NTSC, SÉCAM, PAL) ซึ่งเป็นระบบ Analog ดังนั้น HDTV จึงเป็นโทรทัศน์มีคุณภาพทั้งภาพและเสียงสูงกว่าโทรทัศน์ทั่วไป มีระดับความคมชัดสูงสุด ระบบเสียงเป็นแบบรอบทิศทาง เหมือนกับการรับชมภาพจากจอภาพยนตร์ ที่ผู้ชมจะได้รับชมภาพที่สมจริงมากยิ่งขึ้น

Note :
  • NTSC (National Television System Committee) เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส ที่กําหนดให้แสดงภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรมในอัตรา 30 เฟรมตอวินาที มีสี 16 ลานสี และอัตราการรีเฟรช 60 Halt-frame ต่อวินาที (interlaced) ขณะที่จอคอมพิวเตอรจะใช้วิธีการที่เรียกวา Progressive-Scan ใช้ในสหรัฐอเมริกา และญี่ปุน

  • PAL (Phase Alternate Line) เป็นการสร้างภาพจากเส้นแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ด้วยอัตรา 25 เฟรมต่อวินาที และทําการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing แต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช 50Halt-frame ต่อวินาที ใช้ในแถบยุโรป อังกฤษ ออสเตรเลีย อัฟริกาใต และประเทศไทย

  • SECAM (Sequential Color and Memory) จะแพรสัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพเป็น 819 เส้น ด้วยอัตราการรีเฟลช 25 เฟรมตอวินาที ใชในประเทศฝรั่งเศส รัสเซีย ยุโรปตะวันออกและตะวันออกกลาง



  • สัญญาณที่ใช้กับ HDTV ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • จำนวนเส้นในการแสดงผล


  • Progressive scan หรือ Interlace


  • จำนวน frame หรือ field ต่อวินาที



  • หลักทำงานของ HDTV

    แยกเป็น 2 ส่วน คือ กระบวนการเกิดภาพ และกระบวนการเกิดเสียง

    - กระบวนการเกิดภาพ : สัญญาณดิจิตอลที่ถูกส่งเข้าเครื่องรับโทรทัศน์จะผ่านกระบวนการบีบอัดข้อมูลสัญญาณดิจิตอล โดยใช้ MPEG-2 ซึ่งเป็น Compression software ถอดรหัสเป็น CARD แสดงผลสัญญาณภาพ และจะถูกส่งไปยังหลอดภาพที่ ทำหน้าที่ยิงลำแสงออกมาด้วยความถี่ที่เพิ่มมากขึ้นมายังจอโทรทัศน์ที่มีความกว้าง (อัตราส่วนของจอภาพ 16:9) ขึ้นจึงทำให้เกิดจุดภาพ [ PIXEL] บนจอโทรทัศน์มากขึ้น ภาพที่ได้จึงมีความละเอียด คมชัดต่อเนื่อง ไร้อาการกระพริบของสัญญาณภาพ โดยลักษณะการยิงลำแสง (หรือเรียกว่า การเขียนภาพบนจอโทรทัศน์) มี 2 รูปแบบคือ

            <# 1080i - 1920x1080 pixels interlaced
            <# 720p - 1280x720 pixels progressive

        - Interlaced : การยิงลำแสงไปยังจอภาพ โดยการ scan ลำแสงให้เป็นเส้น เริ่มจากด้านบน จากซ้ายมาขวา ลักษณะเป็นเส้นเว้นเส้น มาจนสุดจอด้านล่าง [เรียกว่า 1 field] ดังนั้นการที่จะเกิดภาพบนจอนั้นจะต้อง scan อีกครั้งหนึ่งให้เส้นภาพครบ เป็น 1 กรอบภาพ [ 2 fields = 1 frame ] การ scan รูปแบบนี้มีจำนวนเส้นถึง 1080 เส้นใน 1 จอภาพ

        - Progressive : การยิงลำแสงไปยังจอภาพ โดยการ scan ลำแสงให้เป็นเส้น จากด้านบนจอ จากซ้ายไปขวา จนสุดด้านล่างของจอ เพียงรอบเดียว ก็เกิดภาพบนจอโทรทัศน์ [ 1 field = 1 frame] การ scan รูปแบบนี้มีจำนวนเส้น 720 เส้นใน 1 จอภาพ สีที่เราเห็นบนจอภาพนั้น เกิดจากที่จอภาพ มีสารเรืองแสง ( PHOSPHOR SCREEN ) ฉาบอยู่ มี 3 สี คือ สีน้ำเงิน,สีเขียว และสีแดง ดังนั้นเมื่อลำแสงมาตกกระทบยังจุดที่ฉาบไว้ด้วยสารเรืองแสง ก็จะเกิดภาพเป็นสีต่างๆ ขึ้น

    เนื้อหาจาก วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ขอขอบคุณ