HDTV ย่อมาจากคำว่า High Definition Television แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "โทรทัศน์ความคมชัดสูง หรือ โทรทัศน์รายละเอียดสูง" ซึ่ง HDTV เป็นรูปแบบของระบบดิจิตอล Digital ที่ดีกว่าโทรทัศน์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน (NTSC, SÉCAM, PAL) ซึ่งเป็นระบบ Analog ดังนั้น HDTV จึงเป็นโทรทัศน์มีคุณภาพทั้งภาพและเสียงสูงกว่าโทรทัศน์ทั่วไป มีระดับความคมชัดสูงสุด ระบบเสียงเป็นแบบรอบทิศทาง เหมือนกับการรับชมภาพจากจอภาพยนตร์ ที่ผู้ชมจะได้รับชมภาพที่สมจริงมากยิ่งขึ้น
Note :
สัญญาณที่ใช้กับ HDTV ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
หลักทำงานของ HDTV
แยกเป็น 2 ส่วน คือ กระบวนการเกิดภาพ และกระบวนการเกิดเสียง
- กระบวนการเกิดภาพ : สัญญาณดิจิตอลที่ถูกส่งเข้าเครื่องรับโทรทัศน์จะผ่านกระบวนการบีบอัดข้อมูลสัญญาณดิจิตอล โดยใช้ MPEG-2 ซึ่งเป็น Compression software ถอดรหัสเป็น CARD แสดงผลสัญญาณภาพ และจะถูกส่งไปยังหลอดภาพที่ ทำหน้าที่ยิงลำแสงออกมาด้วยความถี่ที่เพิ่มมากขึ้นมายังจอโทรทัศน์ที่มีความกว้าง (อัตราส่วนของจอภาพ 16:9) ขึ้นจึงทำให้เกิดจุดภาพ [ PIXEL] บนจอโทรทัศน์มากขึ้น ภาพที่ได้จึงมีความละเอียด คมชัดต่อเนื่อง ไร้อาการกระพริบของสัญญาณภาพ โดยลักษณะการยิงลำแสง (หรือเรียกว่า การเขียนภาพบนจอโทรทัศน์) มี 2 รูปแบบคือ
<# 1080i - 1920x1080 pixels interlaced
<# 720p - 1280x720 pixels progressive
- Interlaced : การยิงลำแสงไปยังจอภาพ โดยการ scan ลำแสงให้เป็นเส้น เริ่มจากด้านบน จากซ้ายมาขวา ลักษณะเป็นเส้นเว้นเส้น มาจนสุดจอด้านล่าง [เรียกว่า 1 field] ดังนั้นการที่จะเกิดภาพบนจอนั้นจะต้อง scan อีกครั้งหนึ่งให้เส้นภาพครบ เป็น 1 กรอบภาพ [ 2 fields = 1 frame ] การ scan รูปแบบนี้มีจำนวนเส้นถึง 1080 เส้นใน 1 จอภาพ
- Progressive : การยิงลำแสงไปยังจอภาพ โดยการ scan ลำแสงให้เป็นเส้น จากด้านบนจอ จากซ้ายไปขวา จนสุดด้านล่างของจอ เพียงรอบเดียว ก็เกิดภาพบนจอโทรทัศน์ [ 1 field = 1 frame] การ scan รูปแบบนี้มีจำนวนเส้น 720 เส้นใน 1 จอภาพ สีที่เราเห็นบนจอภาพนั้น เกิดจากที่จอภาพ มีสารเรืองแสง ( PHOSPHOR SCREEN ) ฉาบอยู่ มี 3 สี คือ สีน้ำเงิน,สีเขียว และสีแดง ดังนั้นเมื่อลำแสงมาตกกระทบยังจุดที่ฉาบไว้ด้วยสารเรืองแสง ก็จะเกิดภาพเป็นสีต่างๆ ขึ้น
เนื้อหาจาก วิชาการ.คอม (www.vcharkarn.com) ขอขอบคุณ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น